รายละเอียดบทคัดย่อ


วิโรจน์ ชลวิริยะกุล, จรัญชัย แพงตาวงศ์ และ ไพฑูรย์ พลสนะ. 2529. การศึกษาระบบการทำฟาร์มแบบผสมผสานในเขตชลประทานจังหวัดชัยนาท.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.273-298.

บทคัดย่อ

         การศึกษาระบบการทำฟาร์มแบบผสมผสานเขตชลประทาน โดยใช้วิธีแบบจำลองฟาร์ม วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบการจัดการฟาร์มขนาด 9 ไร่ ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในฟาร์ม โดยมีแรงงานประจำ 3 คน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการใช้แรงงาน ความต้องการเงินทุน เงินทุนหมุนเวียน การหมุนเวียนของเหลือใช้ในฟาร์ม แหละผลตอบแทนที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม ทำการศึกษาทดลองเมื่อ ธันวาคม 2526 - พฤศจิกายน 2527 ที่หน่วยพัฒนาไร่นา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จ. ชัยนาท การดำเนินงานในฟาร์มแบ่งเป็นกิจกรรมการผลิตทางพืช ได้แก่ ทำนา 2 ครั้ง ทำไร่ 6 ไร่ การปลูกพืชผักตลอดปี 1.75 ไร่ บริเวณบ้าน 1.25 ไร่ ทำการผลิตทางสัตว์ได้แก่ การเลี้ยงไก่ไข่ 200 ตัว บนบ่อปลาสวาย 1,000 ตัว การเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ 2 แม่ และสุกรขุน สำหรับการผลิตทางอื่นได้แก่ การทำปุ๋ยหมัก การผลิตแก๊สชีวภาพ การปลูกพืชสวนครัวและผลไม้ จากการศึกษาทดลองพบว่าเมื่อต้นปีการผลิตทรัพย์สินทั้งหมด 124,799 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินคงที่ 44,933 บาท ทรัพย์สินในการดำเนินงาน 20,752 บาท และทรัพย์สินหมุนเวียน 59,114 บาท เมื่อปลายปีมีทรัพย์สินทั้งหมด 97,194 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินคงที่ 41,145 บาท ทรัพย์สินในการดำเนินงาน 24,749 บาท และทรัพย์สินหมุนเวียน 31,300 บาท มีมูลค่าเสื่อมของโรงเรือนและอุปกรณ์ 4,255 บาท มีการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางพืช 17.58 ไร่ กิจกรรมทางสัตว์ 0.64 ไร่ และกิจกรรมทางอื่น 0.64 ไร่ คือสามารถเพิ่มพื้นที่การผลิตกิจกรรมทางข้าว 6 ไร่ กิจกรรมทางพืชผัก 3.83 ไร่ และกิจกรรมไข่ได้ 0.03 ไร่ มีการใช้แรงงานทั้งหมด 6,052 ชั่วโมง แบ่งเป็นกิจกรรมทางพืช 3,342 ชั่วโมง กิจกรรมทางสัตว์ 2,294 ชั่วโมง และกิจกรรมทางอื่น 416 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายที่ควรเป็นเงินสดทั้งหมด 157,734 บาท แบ่งเป็นกิจกรรมทางพืช 15,546 บาท กิจกรรมทางสัตว์ 142,058 บาท และกิจกรรมทางอื่น 130 บาท มีการหมุนเวียนของเหลือใช้ในฟาร์มเมื่อคิดเป็นเงินสดทั้งหมด 7,377 บาท มีรายได้ที่ควรเป็นเงินสดทั้งหมด 208,108 บาท แบ่งเป็นกิจกรรมทางพืช 49,515 บาท กิจกรรมทางสัตว์ 153,799 บาท และกิจกรรมทางอื่น 4,794 บาท ทำให้มีรายได้สุทธิที่ควรเป็นเงินสดทั้งหมด 50,374 บาท แบ่งเป็นกิจกรรมทางพืช 33,969 กิจกรรมทางสัตว์ 11,741 บาท และกิจกรรมทางอื่น 4,664 บาท เมื่อรวมมูลค่าผลิตผลต้นปีและผลิตผลปลายปีของกิจกรรมการผลิต ทำให้มีผลตอบแทนจากการประกอบการผลิตสุทธิทั้งหมด 27,660 บาท แบ่งเป็นกิจกรรมทางพืช 20,795 บาท กิจกรรมทางสัตว์ 1,751 บาท และกิจกรรมอื่น 5ล114 บาท ซึ่งกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนสุทธิสูงสุดคือกิจกรรมข้าว 13,864 รองลงมาเป็นกิจกรรมปลาสวาย 7,037 บาท สรุปรายได้รายจ่ายของฟาร์ม ปรากฏว่าฟาร์มมีรายได้เงินสดสุทธิ 46,594 บาท และเมื่อพิจารณารายได้เงินสุทธิมูลค่าผลิตผลต้นปีและปลายปี และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินทำให้ฟาร์มมีรายได้สุทธิ 19,625 บาท ทั้งนี้มีรายได้รวมผลผลิตที่นำมาใช้เพื่อการบริโภคภายในครอบครัวอีก 3,780 บาท ทำให้พบแนวทางการจัดการฟาร์มขนาด 9 ไร่ ที่เป็นไปได้ในการจัดระบบฟาร์มและการจัดฟาร์ม