รายละเอียดบทคัดย่อ


วิโรจน์ ชลวิริยะกุล, เชษฐพงศ์ นนทพันธ์ และ หรรษา ฐิติโภคา. 2532. การศึกษาระบบการทำฟาร์มแบบผสมผสานเขตอาศัยน้ำฝน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 6 : . ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2532 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ. ขอนแก่น.  น.93-108.

บทคัดย่อ

         การศึกษาระบบการทำฟาร์มแบบผสมผสานเขตน้ำฝนโดยวิธีใช้แบบจำลองฟาร์มมีวัตถุประสงค์เอศึกษาความเป็นไปได้ของระบบการจัดการฟาร์มขนาด 15 ไร่ ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ โดยีแรงงาน 3 คน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการใช้แรงงาน ความต้องการเงินทุน เงินทุนหมุนเวียน การหมุนเวียนของเหลือใช้และผลตอบแทนจากการผลิตเพื่อการเสี่ยงในการจัดการฟาร์ม ทำการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม 2525-ธันวาคม 2530 รวมเป็นเวลา 6 ปี ที่ ต. หนองมะโมง อ. วัดสิงห์ จ. ชัยนาท ในดินชุดท่ายาง เขตนิเวศเกษตร ฝ6ด5 เป็นเขตพื้นที่อับฝน การดำเนินงานในฟาร์มแบ่งเป็นกิจกรรมการผลิตทางพืชได้แก่ การปลูกพืชไร่ 10 ไร่ ปลูกพืชผักและเพาะเห็ดฟาง 0.5 ไร่ ปลูกไม้ผล 3 ไร่ ส่วนกิจกรรมการผลิตทางสัตว์ได้แก่ การเลี้ยงไก่เมือง เป็ดเทศ และสุกรขุน สำหรับการผลิตทางอื่นๆ ได้แก่ การทำปุ๋ยหมัก ผลิตแกสชีวภาพ ปลูกพืชสวนครัว และเสริมอาชีพในช่วงฤดูแล้ง เช่น เพาะเห็ดฟาง เพาะถั่วงอก เพาะพันธุ์น้อยหน่า ทำไข่เค็ม ทำขนมและจักสาน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเริ่มศึกษามีทรัพย์สินทั้งหมด 26,402 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินคงที่ 17,034 บาทและทรัพย์สินในการดำเนินงาน 9,368 บาท เมื่อสิ้นสุดโครงการมีทรัพย์สินทั้งหมด 61,500 บาท เป็นทรัพย์สินคงที่ 14,667 บาท ทรัพย์สินในการดำเนินงาน 35,278 บาท และทรัพย์สินหมุนเวียน 11,555 บาท มีมูลค่าเสื่อมของโรงเรือนและอุปกรณ์ 2,454 บาท สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2525 ถึง 2530 คือ มีการใช้ที่ดิน 16.2, 16.2, 19.6, 23.1, 20.4 และ15.8 ไร่/ปี ตามลำดับ มีการใช้แรงงาน 2,938, 3,582, 3,662, 2,900 และ 2,043 ชั่วโมง/ปี ตามลำดับ มีรายจ่ายที่ควรเป็นเงินสด 48,311, 70,067, 79,196, 51,652, 36,841, และ 33,150 บาท/ปี ตามลำดับ มีรายได้ที่ควรเป็นเงินสด 32,209, 53,219, 107,410, 67,911, 40,817 และ 39,581 บาท/ปี ตามลำดับ มีรายได้สุทธิที่ควรเป็นเงินสด -16,102, -16,848, 28,241, 16,259, 3,976 และ 6,431 บาท/ปี ตามลำดับ เมื่อพิจารณามูลค่าผลผลิตต้นปี และผลผลิตปลายปีของกิจกรรมการผลิตทำให้มีผลตอบแทนจากการผลิต -1,147, 6,472, 25,721, 3,920, 12,619 และ 14,517 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2527 และ 2528 มีการบันทึกในฟาร์มพบว่ามีการหมุนเวียนของเหลือใช้ในฟาร์มคิดเป็นเงิน 1,864 และ 2,059 บาท ตามลำดับ