รายละเอียดบทคัดย่อ


วิโรจน์ ชลวิริยะกุล, ทวีป สาระศรี, กมล เจริญเกษ และ หรรษา ฐิติโภคา. 2534. การพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานในบริเวณแหล่งน้ำขนาดเล็ก: กรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.124-139.

บทคัดย่อ

         การพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานในบริเวณแหล่างน้ำขนาดเล็ก บึงบ้านซุ่ง ต.บ้านซุ่ง อ. นครหลวด จ. พระนครศรีอยุ่ธยาเป็นงานพัฒนาอาชีพการเกษตรโดยต่อเนื่องจากงานพัฒนาแหล่งน้ำ ของโครงการศูนย์บริการเกษตรเคลื่อนที่ โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เอกชน สภาตำบล และเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเพิ่มผลผลิต รายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2530- กันยายน 2533 สำนักงานเกษตรภาคกลาง ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง เพื่อคัดเลือกแหล่งน้ำบึงบ้านซุ้ง แล้วทำการกสำรวจปัญหาและความต้องการของเกษตรการ กำหนดแผนงานและโครงการ ดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม กิจกรรม โดยมีการประชุมและฝึกอบรมการเกษตรแก่เกษตรกร 230 ราย มีการติดตามงานกิจกรรมทดสอบและสาธิต 10 กิจกรรมเป็นประจำ เพื่อการประเมินผลงานการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ และการพัฒนาการเกษตรด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลการดำเนินงานพบว่า เกษตรกรมีการใช้น้ำโครงการเพื่อการปลูกพืช การอุปโภค การเลี้ยงสัตว์ และการบริโภค รวมร้อยละ 8107 ของครัวเรือนในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเกษตรกรที่ใช้น้ำโครงการได้ทำการปลูกข้าว ในปี 2532/33 มีมูลค่าผลผลิตข้าวนาปี 20.83 ล้านบาท และมูลค่าผลผลิตขายนาปรัง 4.5 ล้านบาท สำหรับผลการพัฒนาการเกษตรทางด้านเศรษฐศาสตร์นั้น กิจกรรมการทดสอบที่ได้ผลดีมากคือ การทำนาปรัง โดยใช้พันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60 ครบวงจร การเลี้ยงปลา ในบ่อ การปลูกพืชผักสวนครัว โดยเฉพาะการปลูกฝักทอง และการปลูกไม่ผลงหลังบ้าน สำหรับกิจกรรมที่ได้ผลดีปานกลางมีการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ การปลูกถั่งเขียวหลัง การเลี้ยงเป็ดเทศ และสุกรเลี้ยงปลาอาสา ส่วนกิจกรรมที่ไม่ค่อยได้ผลได้แก่การเลี้ยงไาพื้นเมืองและการเลี้ยงไก่โร้ด-ชน อย่างไรก็ตาม สำหรับผลทางด้านสังคมของเกษตรกรที่ร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความพอใจในกิจกรรมที่ร่วมทดสอบและ สาธิตมาก นอกจากนี้เกษตรกรยังได้รับผลจากการดำเนินงานในรูปกลุ่มกิจกรรม การกระจายพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ดี และเผยแพร่เทคโนโลยีที่เหมาะสมจาเกษตรกรสู่เกษตรกร เป็นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จากการทดสอบหลายกิจกรรมเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีทางเลือกเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพหลัก ซึ่งเป็นการเข้าสู่ระบบการเกษตรที่ยืนยงต่อไปได้