รายละเอียดบทคัดย่อ


วิจิตร ปิยารมย์. 2534. ระบบเกษตรถาวรกับโครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.35-45.

บทคัดย่อ

         แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ได้เน้นและให้ความสำคัญอย่างมากต่อการป้องกันทำลายป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือของประเทศ ครอบครัวเกษตรกร บนพื้นที่สูงได้ถูกกระตุ้นให้ทำเกษตรที่ไม่มีผลกระทบต่อการทำลายพื้นที่เป็นต้นน้ำลำธารและเป็นการทำการเกษตรที่ถาวรตลอดไป การปรับปรุงระบบการเพาะปลูกของเกษตรกร ซึ่งมีผลเนื่องมาจากเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสังคมของเกษตรของเขาตามสภาพเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปได้ตามความจำเป็นที่เกิดขึ้น ในสภาพบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ขบวนการเหล่านี้ได้เกิดขึ้นอยู่เสมอและคงจะเกิดขึ้นต่อไปอีก นับตั้งแต่เกษตรกรชาวเขาได้โยกย้ายเข้ามาอยู่ขนพื้นที่ภูเขาในประเทศไทย ชาวเขาเหล่านี้ได้มีการปรับปรุงระบบการทำการเกษตรซึ่งพวกเขาได้นำมาจากพื้นที่เก่าที่ได้ย้ายมาและปรับปรุงให้เข้ากับเงื่อนไขของพื้นที่ใหม่ที่เข้ามายอยู่ ระบบการทำการเกษตรในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการนับหลายร้อยปีมาแล้ว ของการทดลองแนวความคิดใหม่ ๆ และดำเนินการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการตามสภาพทรัพยากรที่มีอยู่และสิ่งแวดล้อมของกลุ่มคนนเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำการเกษตรแบบแผ้วถางทำลายป่าโดยการเผาแล้วปลูกข้าวไร่เพียง 1 ปี แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นป่าตามเดิม 7-10 ปี โดยปกติชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงจะสามารถเป็นตัวแทนได้อย่างสมบูรณ์ของการปรับระบบการทำการเกษตรให้เข้ากับสภาพเงื่อนไขของระบบนิเวศน์ของพื้นที่สูง ถ้าหากได้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องระบบการทำการเกษตรแบบดังกล่าวสามารถที่จะพิจาระณาใช้เป็นตัวอย่างของระบบการทำการเกษตรแบบถาวร การทำการเกษตรแบบดังกล่าวของชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ที่ผ่านมา จะทำเพาะปลูกช่วงระหว่าง 2-4 ปี เพื่อที่จะทิ้งที่ไว้ไห้เป็นป่าตามเดิม 10-20 ปี ซึ่งก็นเป็นวิธีการทำการเกษตรที่เหมาะสมเช่นกันตราบเท่าที่ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ และสามารถที่จะทิ้งที่ดินไว้ให้เป็นป่าได้