รายละเอียดบทคัดย่อ


วิชาญ วอทอง, สุวรรณ หาญวิริยะพันธุ์, ชาญชัย อ่อนสอาด, เฉลิม สุขพงษ์, ไพโรจน์ สุวรรณจินดา, ประชา เดือนดาว และ ดำเกิง จันทรปัญญา. 2529. ระบบการปลูกพืชสภาพน้ำฝนในเขตนิเวศเกษตร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.248-256.

บทคัดย่อ

         ตามที่ทางองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดเขตนิเวศน์เกษตรขึ้น ซึ่งในประเทศไทยมี 14 เขตด้วยกัน จากผลการทดสอบระบบการปลูกพืชในสภาพน้ำฝน ที่เขตนิเวศน์เกษตร 3ด5 ระบบถั่วเขียว-ข้าว ผลผลิตได้ 119-661 กก./ไร่ ที่เขตนิเวศน์เกษตร ฝ3ด6 ระบบ ถั่วเขียว-ข้าวผลผลิตได้ 88-600 กก./ไร่ และที่เขตนิเวศน์เกษตร ฝ6ด5 ระบบถั่วลิสง-ข้าว ผลผลิตได้ 230-337 กก./ไร่ ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F.A.O) ได้กำหนดเขตนิเวศน์เกษตร (Agro-Ecological) ขึ้นในประเทศเอเซียใต้ และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยได้นำเอาลักษณะการตกของฝน 'ฝน' (Rainfall Regimes,'R') และกลุ่มดิน 'ด' (Soil Groupings, 'S') มาพิจารณาร่วมกัน ได้แบ่งลักษณะการตกของฝนเป็น 6 ลักษณะ และกลุ่มดินเป็น 7 กลุ่ม (ดูแผนที่และรายละเอียดในภาคผนวกประกอบ) จัดเป็นเขตนิเวสน์เกษตรขึ้นในแต่ละประเทศ จุดประสงค์ก็เพื่อทราบขีดความสามารถของพื้นที่เพาะปลูก สำหรับการจัดลำดับการพัฒนาและวิจัยด้านการผลิตพืช โดยเฉพาะในเขตการเกษตรใช้น้ำฝน เพราะประเทศเหล่านี้การเกษตรในเขตใช้น้ำฝนมี ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ที่ใช้ปลูกพืช จากสภาพที่เป็นจริงเกษตรกรที่อยุ่ในเขตการเกษตรการใช้น้ำฝน จะมีความเป็นอยู่ด้อยกว่าเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานอยู่มาก ทั้งนี้เพราะความแปรปรวนในการตกของฝนทำให้ผลผลิตของพืชที่ได้ไม่ค่อยแน่นอน การกำหนดเขตนิเวศน์เกษตรจะยังช่วย้การเผยแพร่วิชาการปลูกพืชจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่อยู่ในเขตนิเวศน์เกษตรเหมือนกัน รวดเร็วขึ้น เพราะอาจจะไม่ต้องทำการทดลองซ้ำอีก