รายละเอียดบทคัดย่อ


วิริยะ ลิมปินันท์. 2531. แนวคิดเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์พื้นที่ ชุมชนและครัวเรือน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 5 : . ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2531 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.  น.54-71.

บทคัดย่อ

         การวิเคราะห์พื้นที่ ชุมชนและครัวเรือน เป็นขั้นตอนหนึ่งของงานวิจัยระบบการทำฟาร์ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่แล้ววิเคระห์ปัญหาและโอกาสในการพัฒนาการเกษตรของครัวเรือนในพื้นที่เป้าหมาย การวิเคราะห์ดังกล่าวต้องการลักษณะการทำงานแบบสหวิทยาการ ประกอบด้วยนักวิจัยจากสาขาเกษตร สังคม เศรษฐศาสตร์ ทีมวิเคราะห์ต้องร่วมกันตั้งวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ให้ครอบคลุมสัมพันธ์กันระหว่างวิทยาการการผลิตกับปัจจัยทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม วัฒนธรรม โดยไม่เน้นเฉพาะเรื่องวิทยาการการผลิตเพียงประการเดียว ต้องรู้จักเชื่อมความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์เฉพาะของการวิเคราะห์กับวัตถุประสงค์หลักหรือเป้าหมายที่มหญ่กว่าในการพัฒนาชนบทและในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักแจกแจงแนวทางที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ออกเป็นองค์ประกอบหรือกิจกรรมย่อยเล็ก เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของกิจกรรมต่าง ๆ ในขั้นตอนของกาวิเคราะห์พื้นที่นั้น ต้องคำนึงถึงระดับของระบบ และขอบเขตของพื้นที่เป้าหมาย เพื่อหาข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ถูกต้อง เป้าหมายใหญ่ของการวิเคราะห์มักกำหนดที่การเพิ่มรายได้ต่อคนหรือครัวเรือนเป็นหลักแล้ววิเคราะห์ว่าพื้นที่ดังกล่าวมีหมู่บ้านใดบ้างที่มีระดับและสเถียรภาพรองรายได้ต่ำ แล้วแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตต่าง ๆ ซึ่งแต่ละเขตจะมีปัญหา วิธีการ และวิทยาการเพื่อแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ ครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรในชุมชนนั้น เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดสินใจของเกษตรกรในการจัดระบบการทำฟาร์ม โดยแยกระบบการดำรงชีพ และการทำฟาร์มออกเป็นองค์ประกอบย่อยแล้วพิจารณาว่าองค์ประกอบดังกล่าวมาวิเคราะห์ลำดับขั้นตอนการผลิตโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์การผลิตเพื่อหาปัญหาหลักของการผลิตและแนวทางแก้ไขเสร็จแล้วจึงประเมินผลกระทบของการปรับปรุงกิจกรรมดังกล่าวกับองค์ประกอบอื่น ๆ ของระบบดำรงชีพและทำฟาร์ม โดยคำนึงถึงปัจจัยกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและนอกฟาร์ม หลักจากวิเคราะห์พื้นที่ชุมชน และครัวเรือนแล้ว ทีมวิเคราะห์ต้องลำดับความสำคัญของปัญหา แล้วเลือกแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุด ต่อเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ ทั้งต้องเป็นปัญหาที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานของผู้วิเคราะห์และที่สำคัญที่สุดต้องผ่านการยอมรับจากเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ว่าเป็นปัญหาที่เกษตรกรต้องการแก้ไขจริง