รายละเอียดบทคัดย่อ


วุฒิ หวังวัชรกุล. 2529. ผลกระทบทางตรงและทางอ้อมของระบบการปลูกพืชและชลประทานต่อโครงสร้างเศรษฐกิจการศึกษาเฉพาะกรณีของ Iloilo, Phlippines.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.371-393.

บทคัดย่อ

         เป็นที่ทราบกันดีว่าการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรและการชลประทาน มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรและเศรษฐกิจโดยส่วนรวมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนา การพัฒนาดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการเพิ่มผลผลิตโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิติตของปัจจัยการผลิตต่างๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่ใช้ การศึกษาผลกระทบของการพัฒนาการเกษตรส่วนใหญ่ได้นับเฉพาะสาขาการผลิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่านั้น ความจริงแล้วผลกระทบของการพัฒนาไม่ได้หยุดเฉพาะสาขาการผลิตดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังสาขาการผลิตอื่นๆ ที่ 'ผูกพัน' หรือ 'เชื่อมโยง' กับสาขาการผลิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพัฒนานั่นด้วย ผลกระทบที่ต่อเนื่องกันมานี้เรียกว่า ผลกระทบทางอ้อมซึ่งหมายถึงผลกระทบต่อสาขาการผลิตอื่นๆ ทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ นอกเหนือไปจากนั้น สาขาการผลิตแรกที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่น การพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถเพาะปลูกข้าวได้ 2 ครั้งใน 1 ฤดูฝน หรือการพัฒนาชลประทานทำให้มีการพัฒนาผลผลิตในกิจกรรมสาขาการผลิตข้าวซึ่งเป็นผลกระทบโดยงตรง การขยายผลการผลิตอันเนื่องมาจากการพัฒนานั้นย่อมมีผลต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการรปัจจัยในการผลิตข้าวเช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช แรงงาน เครื่องจักรกล เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการดังกล่าวจะส่งผลต่อเนื่องไปยังสาขาการผลิตที่ปัจจัยในการผลิตข้าวเหล่านั้นให้เพิ่มผลผลิต นั่นคือ อุปสงตค์ของปัจจัยการผลิต เช่น สารเคมี เหล็ก แกส จะเพิ่มสูงขึ้น เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนกลว่าแรงกระทบนั้นจะอ่อนตัวลงในที่สุด ดังนั้น การวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนาในเศรษฐกิจหนึ่งๆ จึงควรจะพิจารณาถึงผลกระทบทางอ้อมควบคู่กับผลกระทบทางตรงด้วย