รายละเอียดบทคัดย่อ


สวัสดิ์ ธรรมบุตร, พิทยา นามแดง และ วีรชัย โพธิวาระ. 2531. การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองในระบบของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 5 : . ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2531 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.  น.233-238.

บทคัดย่อ

         แม่ไก่พื้นเมืองที่ได้รับการเลี้ยงดูและการจัดการในระบบของเกษตรกรในระดับหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือไข่เฉลี่ยปีละ 3 ชุด และฟักลูกได้ชุดละ 8 ตัว ตลอดปีผลิตลูกไก่ได้ 19 ตัว เปอร์เซ็นต์การฟักออกต่ำสุดในเดือนเมษายน คือ ฟักออกเพียง 37% อาจเนื่องจากอากาศร้อนและแม่ไก่ขาดธาตุอาหารที่สำคัญต่อการฟักไข่ เช่น โปรตีนและไวตามินบีต่าง ๆ ส่วนลูกไก่ที่ฟักออกมามีการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยวันละ 10.48 กรัม/ตัว และทำน้ำหนักได้ 1,218 กรัม/ตัว เมื่ออายุ 41/2 เดือน อัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (heritability) ที่ประมาณจากแม่ไก่เท่ากับ 0.26 การแนะนำส่งเสริมและการยอมรับของเกษตรกรในการป้องกันโรคระบาดโดยวิธีรวมกลุ่ม ฝึกอบรมและติดตามผลอย่างใกล้ชิด พบว่าการป้องกันโรคระบาดสามารถลดอัตราการตายของไก่จากเดิม 80 - 90% เหลือ 10 - 25% ทำให้ไก่ในฝูงเพิ่มมากขึ้นถึงจุดหนึ่งประมาณ 36 - 48 ตัว/ครอบครัว เริ่มจากจุดนี้ไปเกษตรกรจะมีปัญหาเนื่องจากไก่ตายเช่นเดียวกันกับก่อนเริ่มโครงการ แต่สาเหตุต่างกันคือการตายของไก่ในช่วงนี้เนื่องมาจากการจัดการไม่เหมาะสม ไก่จะเกิดการขาดอาหารเนื่องจากขนาดของฝูงไก่และอาหารที่ให้เสริมไม่สมดุลกัน ทำให้ไก่เล็กตายมาก ถ้าปล่อยให้ฝูงไก่มีขนาดใหญ่เกินไปไก่จะตายทั้งฝูง ดังนั้นจึงควรแนะนำให้คัดไก่รุ่นอายุเกิน 4 เดือนขึ้นไป หรือน้ำหนักตัวละ 1 - 12 กก. จำหน่ายหรือบริโภค หรือให้โอกาสลูกไก่ และไก่เล็กเติบโตแทน