รายละเอียดบทคัดย่อ


สุพัฒน์ วิรัตน์พงษ์ และ สุรศักดิ์ ทองเพียร. 2529. เศรษฐกิจการเกษตรในเขตพื้นที่ศักยภาพของที่ดินและช่วงฝนเพื่อการเกษตร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.107-134.

บทคัดย่อ

         ด้วยเหตุที่พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนดำเนินการผลิตทางการเกษตร จึงได้มีความพยายามที่จะวิเคราะห์หาปริมาณฝนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและลดความเสี่ยง อันเกิดจากความแปรปรวนของฝน ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ถึงปริมาณฝนและโอกาสที่จะมีฝนตกในท้องที่ต่างๆ ของประเทศไทยเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานการพิจารณาระบบการปลูกพืชในท้องที่อาศัยน้ำฝนและเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายการส่งเสริมการปลูกพืชในเขตเกษตรอาศัยน้ำฝน จากเหตุผลนี้ การพิจารณาลดพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วนจึงได้ถูกกำหนดขึ้นโดยอาศัยเขตน้ำฝนและกลุ่มดินมาประกอบกัน โดยมีการพิจารณาจากกลุ่มดินที่ไม่เหามาะสมกับการปลุกข้าวซึ่งมีอยู่ 6.27 ล้านไร่ เพื่อทำการปลูกพืชอื่นทดแทนเพราะปัจจุบันข้าวที่ผลิตได้มากเกินความต้องการของตลาดและพื้นที่ทีทำการลดนั้นได้ศึกษาแล้วว่ามีต้นทุนการผลิตสูงกว่าในเขตอื่นๆ ซึ่งไม่อาจแข่งขันในด้านราคาได้ ดังนั้นพื้นที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวจึงถูกนำมาพิจารณากับเขตน้ำฝน ในการจะพิจารณาว่าดินมีความเหมาะสมกับพืชชนิดไหนและมีความเป็นไปได้เมื่อพิจารณากับเขตน้ำฝนอาศัยหลักการเดียวกันนี้ การจัดทำเขตเกษตรนิเวศน์เบื้องต้นจึงได้จัดทำขึ้นโดยการนำศักยภาพที่ดินเพื่อกากรเกษตรของกรมพัฒนาที่ดินมาประกอบกับเขตน้ำฝนที่ได้จัดทำขึ้น สำหรับการพิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมและเป็นแนวทางในการปรับปรุงเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินการต่อไป