รายละเอียดบทคัดย่อ


อรรถชัย จินตะเวช และ อารันต์ พัฒโนทัย. 2529. ผลการทดสอบวิธีการปลูกถั่วลิสงหลังนาร่วมกับเกษตรกร ประสบการณ์ของโครงการวิจัยระบบการทำฟาร์ม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.362-370.

บทคัดย่อ

         การทดสอบเทคโนโลยีการเกษตรในไร่นาเกษตรกร (on-farm trial methodology) เป็นวิธีการวิจัยที่ได้รับการกล่าวถึงในวงกว้าง โดยเฉพาะในแวดวงของงานวิจัยระบบการทำฟาร์มเท่าที่ผ่านมายังไม่มีเอกสารที่กล่าวถึงวิธีการ ขั้นตอน เป้าหมาย และแนวทางของงานวิจัยรูปนี้อย่างชัดเจน แต่ละหน่วยงานหรือกลุ่มงานก็มีแนวทางเฉพาะของตนเอง กล่าวคือยังไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน อย่างไรก็ตามวิธีการนี้เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของแนวทางการวิจัย และส่งเสริมการเกษตรอย่างเป็นระบบตามหลักการของงานวิจัย ระบบการทำฟาร์ม ซึ่งจะชี้แนวทางในการแก้ปัญหาของเกษตรกรอย่างตรงเป้าหมาย วิธีการทดสอบในไร่นาเกษตรกรตามแนวคิด FSR\E ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นเพียงการปรับปรุงและดัดแปลงบรรยากาศของการทำงานวิจัย และส่งเสริมการเกษตร ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดโดยที่ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผนมากที่สุด ให้เกษตรกรได้มีโอกาสเข้าใจเงื่อนไข และมีบทบาทในการดัดแปลงเทคโนโลยีให้เหมาะสมด้วยของตัวของเกษตรกรเอง ขั้นตอนทั้งหกของแนวคิด FAR\E แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ระหว่างนักเกษตรกรและนักสังคมศาสตร์ในการทดสอบระดับไร่นา มีความจำเป็นและความสำคัญมาก ซึ่งนอกเหนือจากการทำให้ทีมงานมีความเข้าใจต่อสภาพพื้นที่มากขึ้นแล้ว ยังช่วยชี้แนวทางและกลยุทธในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพอีกด้วย แนวทางนี้ช่วยให้ทีมงานเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการปรุงแต่งเทคโนโลยีการเกษตรให้เหมาะสมต่อสภาพของเกษตรกรอย่างแท้จริง เอกสารฉบับนี้ ประกอบไปด้วยพัฒนาการของการทดสอบถั่วลิสงหลังนาของโครงการวิจัยระบบการทำณธฟาร์ม มข. สองระยะและได้เสนอผลการปฏิบัติงานปี 2527\28 ซึ่งเป็นการร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในแต่ละตอนได้สรุปบทเรียน ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อการพัฒนาการวิจัยด้านนี้ และตอนท้ายได้เสนอบทบาทของวิธีการทดสอบในไร่นาเกษตรกรที่อาจจะมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามแนวคิด FSR/E