รายละเอียดบทคัดย่อ


อภิชาติ ผลเกิด และ ชวาลวุฑฒ ไชยนุวัติ. 2532. การเปลี่ยนวิธีการผลิตถั่วเขียวผิวดำของเกษตรกร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 6 : . ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2532 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ. ขอนแก่น.  น.274-281.

บทคัดย่อ

         การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตถั่วเขียวผิวดำของเกษตกรเพื่อหาวิธีการผลิตถั่วเขียวผิวดำในแต่ละวิธีตั้งแต่การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การตาก การนวดที่ถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงและมีคุณภาพดี หลีกเลี่ยงการเกิดของเชื้อรา (Macrophomina phaseolina) ที่ติดมากับเมล็ด พบว่าการปลูกที่จำนวน 3 ต้นต่อหลุมต่อไร่ โดยใช้ระยะปลูก 5x20 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกจำนวน 2 และ 1 ต้น แต่ถ้าปลูกจำนวนต้นต่อหลุมน้อยลง 2 และ 1 ต้นต่อหลุม เชื้อราจะน้อยลง และช่วงการปลูกมีความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับเชื้อราคือ ถ้าปลูกในช่วงต้นเดือนและกลางเดือนสิงหาคมผลผลิตจะสูงขึ้น ขณะเดียวกันเปอร์เซนต์เชื้อราในช่วงนี้จะมากขึ้นด้วย การปลูกที่ช้าออกไปเชื้อราจะน้อยลง ขณะเดียวกันผลผลิตก็จะน้อยลงเช่นเดียวกัน แต่การตากบนผ้าใบจะพบเชื้อราน้อยกว่าวิธีอื่นๆ พันธุ์อู่ทอง 2 จะพบเชื้อราน้อยกว่าพันธุ์พื้นเมือง การคลุกสารเคมีก่อนปลูกเชื้อราจะน้อยกว่าการไม่คลุกสารเคมี การปลูกเป็นแถวเป็นแนวตามวิธีปฏิบัติตามหลักวิชาการจะพบเชื้อน้อยกว่าแปลงเกษตรกรทั่วไปที่ปลูกแบบหว่าน ทัศนคติของเกษตรกรผู้จัดทำและเกษตรกรที่มาดูแลงานวันสาธิต (Field day) ให้ความสนใจวิธีการดังกล่าว และจะปรับปรับปรุงคุณภาพถั่วเขียวผิวดำให้ดีขึ้น