รายละเอียดบทคัดย่อ


อภิพรรณ พุกภักดี. 2539. แนวทางการเข้าสู่การเกษตรยั่งยืนในระบบเกษตรนิเวศน์ที่ใช้ความหลากหลายของชีวภาาพให้เป็นประโยชน์.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.3-15.

บทคัดย่อ

         การพัฒนาการเกษตรเพื่อเร่งรัดให้มีผลผลิตและรายได้สูงขึ้น ถูกมองว่าเป็นสาเหตุของความเสื่อมโทรมและการถดถอยของสภาแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาที่เป็นผลมาจากการปฏิวัติเขียว การปลุกพืชที่มีผลผลิตสูงเป็นเวลายาวนาน ทำให้ผลผลิตของพืชยิ่งลดลงและการระบาดของแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ยิ่งเพิ่มมากขึ้นทุกที แนวคิดเรื่องเกษตรยืนยงได้เกิดขึ้นในหมู่นักวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันมิให้ความถดถอยคุรภาพและปริมาณของทรัพยากรการเกษตรเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเกษตรยืนยงนั้น ยึดมั่นในความคิดที่ว่าการเกษตรต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ หลายๆ ด้านพร้อมกัน พร้อมทั้งจะต้องเกิดจากความเข้าใจอย่างยิ่ง ถ่องแท้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเขตกรรม สภาพแวดล้อมตลอดจนปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมพร้อมๆ กันไป การวิจัยและพัฒนาการเกษตรเพื่อให้เข้าสู่ภาวะเกษตรยืนยงนั้น จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการได้แก่ ระบบเกษตรนิเวศน์ (Agroecolocial system) ที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่เหมาะสม และความเกี่ยวพันกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ ความพยายามที่จะทำระบบการเกษตรไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีการที่จะต้องผสมเอาองค์ประกอบทางธรรมชาติ ตลอดจนหน้าที่ขององค์ประกอบนั้นมาใช้ประโยชน์ ทำให้ระบบดังกล่าวมีความหลากหลายทั้งชนิดของสิ่งที่มีชีวิต ทั้งกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการอนุรักษ์ดินและทรัพยากรอื่นๆ เพื่อทำให้ระบบการเกษตรนั้นๆ มีศักยภาพในการผลิตและสามารถที่จะเพิ่มเสถียรภาพการผลิตและนำไปสู่ลักษระของการเกษตรยืนยงขึ้นได้