รายละเอียดบทคัดย่อ


สมบูรณ์ โกมลนาค. 2539. การศึกษาพัฒนาอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเชิงระบบ ณ กิ่งอำเภอเชียงรุ้ง จ. เเชียงราย.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.196-200.

บทคัดย่อ

         ประเทศไทยประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มานานกว่า 100 ปี แต่การพัฒนาอาชีพนี้ยังอยู่ในวงจำกัด จึงได้ใช้พื้นที่กิ่งอำเภอเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยตำบลดงมหาวัน 49 ครอบครัว พื้นที่ 98 ไร่ ตำบลทุ่งก่อ 51 ครอบครัว พื้นที่ 47 ไร่ และตำบลป่าซาง 17 ครอบครัว พื้นที่ 96 ไร่ โดยใช้ห้องเลี้ยงไหมพื้นบ้าน แปลงหม่อนของเกษตรกรที่มีอยู่เดิม ปลูกเสริมด้วยหม่อนพันธุ์ บร.60 บร.51 และ ใช้ไข่ไหมพันธุ์ลูกผสมพันธุ์จีน นางเหลืองจากสถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร ผลการสรุปปัญหาที่ทำให้อาชีพการปลุกหม่อนเลี้ยงไหมไม่ได้ผล เนื่องจากเกษตรกรเก็บพันธุ์ไหมเอง ทำให้เกิดผสมสายเลือดใกล้ชิด ให้ผลผลิตต่ำ อ่อนแอ ไข่ไหมต่างประเทศที่บริษัทนำเข้ามาเสนอให้เลี้ยง ต้องใช้เทคโนโลยีสูง หนอนไหมอ่อนแอ ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีความชำนาญน้อย จึงเสี่ยงต่อความล้มเหลวได้ง่าย และเกษตรกรสาวเส้นไหมไม่ทัน เนื่องจากเครื่องมือทุ่นแรงขนาดเล็กยังกระจายมา ไม่ถึงจึงเลี้ยงไหมได้จำนวนน้อย เฉลี่ยเส้นไหม 1.2 กิโลกรัมมูลค่า 960 บาทต่อปี หลังจากการปรับเทคโนโลยีแล้ว เกษตรกรเลี้ยงไหม 6 รุ่น ต่อปี ผลิตเส้นไหมรวมเฉลี่ย 9.0 กิโลกรัม มูลค่า 7,200 บาท