รายละเอียดบทคัดย่อ


อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ. 2539. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ยุทธวิธีทางเลือกเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.282-296.

บทคัดย่อ

         แนวทางหนึ่งที่ทำให้การพัฒนายั่งยืนได้ คือเกษตรสามารถนำผลการวิจัยและการพัฒนาไปประยุกต์ใช้ได้และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งวิธีการหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือ การเพิ่มการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกระบวนการพัฒนา แนวทางนี้อาจนำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรกรรมรวมทั้งการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดความหมายของคำว่าการมีส่วนร่วมของเกษตรกรให้ชัดเจน เนื่องจากการมีส่วนร่วม มีหลายระดับ เกษตรกรอาจมีส่วนร่วมเพียงผิวเผิน (pseudo-participation) หรือไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง บทความนี้นำเสนอการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (collaborative action research) ฐานะยุทธวิธีทางเลือกเพื่อเพิ่มโอกาสและอำนาจการตัดสินใจของเกษตรกรในกระบวนการพัฒนา ในที่นี้การมีส่วนร่วมหมายถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ (collaboration) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเกษตรกรรมแบบองค์รวม (holistic apporach) กระบวนการและวิธีการของการวิจัยแบบนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาศให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้ตัดสินใจในวงจรต่อเนื่องของแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) ตามแผน การสังเกต (Observation) วิธีการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ และการสะท้อนความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาณ (Critical reflection) ต่อวิธีการปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวมเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำกิจกรรมร่วมเป็นหมู่หรือกลุ่ม (collective action) ตามเงื่อนไขของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของเกษตรกร ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมบทบาทของผู้วิจัยจะเปลี่ยนจากผู้สั่งการหรือโค้ชมาเป็นผู้สนับสนุนหรือ ผู้ประสานงาน (facillitator) ที่จะคอยสร้างบรรยาการที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะความสามารถของเกษตรกรในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์การพิจารณาใตร่ตรองและการตัดสินใจเลือกทิศทางในการพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองมากขึ้น