รายละเอียดบทคัดย่อ


อรรถชัย จินตะเวช, ถาวร อ่อนประไพ, ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา, สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์, เฉลิมพล ไหลรุ่งเรือง, นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต, บุญมี ศิริ, ทินกร กลมสะอาด, ปรีชา พรามหมณีย์ และ ผาสุข ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์. 2539. การรักษาดุลยภาพธาตุอาหารในระบบการผลิตพืชไร่: กรณีศึกษามันสำปะหลังและอ้อย.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.353-357.

บทคัดย่อ

         อ้อย (Saccharum officinarum L.) เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ในแต่ละปีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคาดคะเนผลิตอ้อยได้พยายามคาดการณ์ผลผลิตอ้อยของประเทศ ด้วยวิธรการทางสถิติต่าง ๆ แต่พบว่ามีความเหลื่อมล้ำระหว่างตัวเลขที่ได้จากการประมาณและตัวเลขการผลิตจริง ปัญหาหลักของวิธีการคำนวณทางสถิติ ไม่ได้นำปัจจัยสภาพแวดล้อมการผลิตพืช เช่น พัฒนาการของพืช ปริมาณน้ำฝน การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำใต้ดิน การระบาดของโรคและแมลง ฯลฯ เป็นต้น เข้ามาประกอบการคำนวณ ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการให้ผลผลิตและน้ำตาลของอ้อย และเป็นปัจจัยที่มีความแปรปรวนสูง นอกจากนี้วิิธีการคาดการณ์ผลผลิตอ้อยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันใช้เทคโนดลยีสารสนเทศขั้นมูลฐานในการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผล คือเทคโนโลยีสารสนเทศประเภท Electronic Data Processing (EDP) ซึ่งเน้นการจัดเก็บและการใช้ข้อมูลเป็นกิจกรรมหลักของเทคโนโลยี ในทางตรงกันข้าม การคาดการณ์ผลผลิตอ้อยต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก นั่นคือเอิ้อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ประกอบการจัดการทรัพยากร และสนับสนุนการตัดสินใจในการผลิตอ้อย โดยมีการยืดหยุ่นเพื่อสะดวกต่อการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอ้อยซึ่งมีข้อมูลในเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ รวมทั้งต้องเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่รวมแบบจำลองการเจริญเติบโตของอ้อยซึ่งได้รับการพัฒนาจากงานวิจัยพื้นฐาน แบบจำลองอ้อยจะเอื้อผู้ใช้งานระบบสามารถประเมินผลผลิตอ้อยในแต่ละฤดูและแต่ละพื้นที่โดยมีพื้นฐานจากข้อมูลดิน ข้อมูลภูมิอากาศเกษตร ข้อมูลการผลิตอ้อย และข้อมูลเฉพาะของสายพันธุ์อ้อย ซึ่งจะทำให้การประเมินผลผลิตอ้อยของผู้ผลิตอ้อยในแต่ละระดับมีความแม่นยำมากขึ้น สามารถตรวจสอบความผิดพลาดได้ และสามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้อย่างเป็นระบบความต้องการของผู้ใช้งานในอนาคต