รายละเอียดบทคัดย่อ


Trebuil, G., นาถ พันธุมนาวิน, กิตติ สิมศิริวงษ์, ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ นิตยา เงินประเสริฐศรี. 2535. ระดับถาวรภาพของระบบการทำฟาร์มกับการสั่งสมทุนการผลิต: การวิเคราะห์จากความแตกต่างของเกษตรกรใน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 9 : . ระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2535 ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จ.ภูเก็ต.  น.304-312.

บทคัดย่อ

         เมื่อพิจารณาในเชิงเศรษฐกิจสังคม อาจกล่าวได้ว่าโอกาสในการสั่งสมทุนในการผลิตของเกษตรกร (ที่ดิน ไร่ นา สวน สัตว์เลี้ยง เครื่องมือ สิ่งก่อสร้างในฟาร์ม และเงินออม) เป็นเครื่องชี้วัดระดับถาวรภาพของระบบการทำฟาร์มของเกษตรกรนั้นๆ ระยะ 40 ปีที่ผ่านมา มีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ฟาร์มพัฒนาไปในระดับที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่พบทั่วประเทศ ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะสังเกตได้ง่าย ในแหล่งที่เป็นเขตบุกเบิกดังเช่น บริเวณลุ่มน้ำแควน้อยในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเขตที่โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรม มก. (DORAS) ได้เลือกดำเนินการวิจัยตามนัยความคิดข้างต้น ในปี 2534 จากการวิเคราะห์ประวัติและกลไกของระบบการผลิตทางการเกษตรในท้องที่ที่ศึกษาทำให้สาม ารถจำแนกระบบการผลิตทางเกษตรเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทเมื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระบบการผลิตทางเกษตรประเภทต่างๆ เหล่านี้ ทำให้สามารถประเมินระดับถาวรภาพของฟาร์มแต่ละประเภททั้งในเชิงเศรษฐกิจสังคมและเชิง เทคนิคการผลิตได้และได้ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยและส่งเสริมที่สอดคล้องกับปัญหาของแ ต่ละฟาร์มและเหมาะสมแก่กาลเวลาได้ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ฟาร์มขนาดเล็กซึ่งเป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่ของท้องที่สามารถพัฒนาตัวเองให้อยู่ในระดับถาวรภาพได้