รายละเอียดบทคัดย่อ


นิธิ ฤทธิพรพันธุ์ และ พิศิษฐ์ ชาญเสนา. 2535. กระบวนการพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาของจังหวัดตรัง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 9 : . ระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2535 ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จ.ภูเก็ต.  น.75-81.

บทคัดย่อ

         โดยการประสานความร่วมมือกันทั้งราชการ ชาวบ้าน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชนในการวางแผนและร่วมดำเนินการในกิจกรรมการปลูกบำรุงรักษาป่าชายเลนชุมชนในกิจกรรมอนุรักษ์หญ้าทะเล เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำชายฝั่งจากที่เคยมีแต่ลดลงให้ค่อยๆ คืนสภาพขึ้นพบว่ามีการรวมกลุ่มของชาวบ้านชัดเจนชขึ้น เกิดเเครือข่ายองค์กรดังกล่าวทั้งระหว่างกลุ่มภายในและกับบุคคล/องค์กรกลุ่มภายนอกมากขึ้น เริ่มตระหนักถึงคุรค่าวิถีชุมชนในอดีต และหาช่องทางมาปรับใช้กับสภาวะการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมชายฝั่งซึ่งจะพบว่าป่าชายเลนของชุมชนและบริเวณหญ้าทะเลจะเริ่มสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำชายฝั่งเพิ่มขึ้น แต่พวกเขาเรียนรู้ว่าจะต้องพัฒนากันต่อไปเพื่อให้เกิดเป็นประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนในการร่วมมืออนุรักษ์ พร้อมๆ กับการปรับความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจที่จะต้องต่อสู้กับกระแสภายนอกด้วย