รายละเอียดบทคัดย่อ


ชูทิพย์ ชนะเสนีย์, สุพจน์ แสงประทุม และ ธวัชชัย วรศานต์. 2535. การส่งเสริมการปลูกทานตะวันหลังข้าวโพดในพื้นที่ไร่ภาคกลาง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 9 : . ระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2535 ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จ.ภูเก็ต.  น.236-245.

บทคัดย่อ

         ทานตะวันเป็นพืชที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการผลิตป็นพืชน้ำมันของประเทศ กล่าวคือ น้ำมันทานตะวันมีคุณค่าในการบริโภคสูงไม่ก่อให้เกิดปัญหาไขมันอุดตันในเส้นเลือด เมล็ดทานตะวันจึงเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันพืชในปัจจุบัน นอกจากนี้กากทานตะวันยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ได้อีกด้วย ประเทศไทยมีการนำเข้าเมล็ดทานตะวัน น้ำมันและกากเมล็ดทานตะวัน ตลอดมาและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีประเทศผู้ผลิตทานตะวันรายใหญ่ของโลกได้แก่ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา แระเทศกลุ่มประชาคมยุโรปตะวันออก จีน และออสเตรเลีย เป็นต้น การปลูกทานตะวันในรุปอุตสาหกรรมน้ำมันพืชในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ปี 2516 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรต่อมาในปี 2529-2533 ได้มีการวิจัยศึกษาถึงเรื่องการปลูกทานตะวันมากขึ้น ทั้งในสถานีวิจัยและในแปลงของเกษตรกร จากผลวิจัยทดสอบพบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการส่งเสริมให้มีการปลุกทานตะวันในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางในปลายฤดูฝน ในสภาวะการผลิตด้านการเกษตรของปรเทศไทยส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลักมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่เต็มที่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่ำ ทานตะวันนับเป็นพืชที่เหมาะสมเพราะมีระบบรากลึกและรากแขนงแผ่กระจายสามารถชอนไชและดูดซึมน้ำได้ดี ช่วยให้ทานตะวันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งและความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่สามารถเหมาะสำหรับปลูกพืช อื่น การส่งเสริมการปลูกทานตะวันเป็นพืชที่ 2 หลังปลูกข้าวดพดในสภาพพื้นที่พืชไร่ภาคกลางจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่ปลูกพืชโดยน้ำฝน