รายละเอียดบทคัดย่อ


สมชาย ชาญณรงค์กุล, ชูทิพย์ ชนะเสนีย์, ชวาลวุฑฒิ ไชยนุวัติ, S. Tomita, Nakaslima และ Takahashi. 2535. การศึกษาการพัฒนาการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตถั่วเขียวผิวดำตามโครงการส่งเสริมการส่งออกถั่วเขียวผิวดำคุณภาพดี.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 9 : . ระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2535 ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จ.ภูเก็ต.  น.246-247.

บทคัดย่อ

         ประเทศไทยผลิตถั่งเขียวผิวดำและส่งออกไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศ มากกว่า 90% ของผลผลิตทั้งหมกที่ผลิตได้ ทำรายได้เข้าประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท และกว่า 80% ของถั่วเขียวผิวดำที่ส่งออกทั้งหมด ส่งออกไปขายตลาดญี่ปุ่น ซึ่งนำไปเพาะถั่วงอก เพื่อใช้บริโภคแต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเริ่มลดปริมาณการสั่งซื้อถั่วเขียวผิวดำจากไทย หันไปสั่งซื้อจากพม่า และจีนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก คุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้นของเงชื้อราที่ติดไปกับถั่วเขียวผิวดำของไทย ทำให้เมื่อนำไปเพาะทำเป็นถั่วงอกจะเน่าเสียง่าย ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาตลาดส่วนนี้ไว้ จึงได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงคุณภาพถัวเขียวผิวดำให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ส่วน ตามสาเหตุแห่งปัญหา คือ การเปลี่ยนพันธุ์ และป้องกันกำจัดเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด การทดสอบการใช้สารเคมีบางชนิด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงแต่ต้นถั่วเขียวผิวดำ และการปรับเปลี่ยนฤดูปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวถั่วเขียวผิวดำ ในสภาพความชื้นสูง ผลการศึกษาปรากฏว่า ในการเปลี่ยนพันธุ์ และการป้องกันกำจัดเชื้อรานั้น เกษตรกรยอมรับการใช้ถั่งเหลืองผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยมีการคลุมสารเคมีป้องกันกำจัเชื้อราก่อนปลูกผลผลิตเฉลี่ยที่ได้จากแปลงทดสอบในแหล่งผลิตสำคัญ อยู่ระหว่าง 121 - 130 กก./ไร่ ปริมาณเชื้อราที่ตรวจพบไม่เกิน 10% โดยตรวจพบเชื้อราต่าง ๆ ตามลำดับ Macrophomina phaseolina, Colletotrichum truncatum, Rhizoctonia silani and Fusarium solani. เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดถั่วเขียวผิวดำ เฉลี่ย 90-95% มีความแข็งแรงของเมล็ดอยู่ในระดับสูง สำหรับการทดสอบการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าทำลายของเชื้อรา และการเปลี่ยนฤดูปลูกนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะเกิดผลในด้านของการยอมรับของเกษตรกรเช่นกัน