รายละเอียดบทคัดย่อ


สุพร อำมฤคโชค และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2534. การพัฒนาระบบการปลูกพืชเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่สูงลาดชันของเกษตรกรโดยวิธีการปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มตามแนวระดับ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.46-55.

บทคัดย่อ

         สภาพพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงประมาณ 6.1% ของพื้นที่ทั้งหมดความสูงตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไป มีความลาดชันโดยเฉลี่ยของพื้นที่มากกว่า 35 % (อังกสิทะ,2530) เกษตรการบนที่สูงยังชีพด้วยระบบการผลิตแบบทำไร่เลี่ยนลอย ซึ่งในปัจจุบันระบบดังกล่าวไม่สามารถให้ผลผลิตทีเพียงพอต่อความต้องการของประชาการที่เพิ่มขึ้น ผลผลิตมีแนวโน้มลดลงตามความเสื่อมของดิน อันเนื่องจาการชะล้างหน้าดินและการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องมากขึ้น การขยายพื้นที่การเพาะปลูกเป็นการแก้ปัญหาในระยะแรกที่เกษตรยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่สูงหลายแห่งได้ถูกจัดให้เป็นเขตต้นน้ำลำธารและเขตป่าสงวน เกษตรจึงไม่สามรถมีกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดิน ซึ่งเป็นผลให้เกษตรกรขาดความรู้สึกในการเป็นเจ้าของที่ดิน ขาดความสนใจที่จะบำรุงรักษาพื้นที่ จนกระทั้งฝายรัฐเริ่มมีนโยบายการปลูกป่าและอพยพเกษตรกรบางส่วนออกจากพื้นที่แหล่างต้นน้ำสำคัญ เกษตรกรบางส่วนจึงเริ่มมีนโยบายการปลูกป่าและอพยพเกษตรบางส่วนจึงเริ่มคำนึงถึงหลักประกันทางชีวิตของตนเองและครอบครัวมากขึ้น จากปัญหาข้อจำกัดในพื้นที่ประกอบกับแรงผลักกันจากภายนอก ได้กลายเป็นส่วนกระตุ้นให้เกษตรกรสนใจ และพยายามที่จะปรับปรุงระบบการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเติม และเพื่อความมั่นคงในหารใช้ที่ดิน และพัฒนาระบบการปลูกพืชบนที่ลาดชันด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น การปลูกพืชเชิงอนุรักษ์ จึงได้รับการวิจัยและส่งเสริมมากขึ้นบนพื้นที่ภาคเหนือ อย่างไรก็ตามองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาร่วมด้วย คือ เกษตรกรผู้ปฏิบัติ การศึกษาการยอมรับและการจัดการในระดับเกษตรการจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญ สำหรับการพัฒนาระบบการปลูกพืชเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่ลาดชัน