รายละเอียดบทคัดย่อ


พูลสวัสดิ์ อาจละกะ และ ศิริจิต ทุ่งหว้า. 2534. วิวัฒนาการและความแตกต่างต่างกันภายในของระบบสังคมเกษตร การผลิตยางพาราบริเวณฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.140-173.

บทคัดย่อ

         เอกสารงานวิจัยฉบับนี้เสนอผลการวินิจฉัยเพื่อทำความเข้าใจพลวัตของระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพาราทางฝั่งตะวันตอกของลุ่มน้ำทะเลสาปสงขลา ผลการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากหลายด้านได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิจากทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ข้อมูลปฐมภูมิโดยการเลือกศึกษาฟาร์มต่าง ๆ ใน 3 หมู่บ้าน การสัมภาษณ์เกษตรกรรอบพื้นที่ศึกษาโดยมีขึ้นตอนในการดำเนินงานได้แก่ การกำหนดเขตนิเวศเกษตร พร้อมกับการศึกษาวิวัฒนาการของระบบสังคมเกษตร ศึกษาประวัติและแนวโน้มของฟาร์ม รวมทั้งคัดเลือกฟาร์มตัวอย่างมาศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงาน ผลการศึกษาสรุปได้ว่าระบบการผลิตทางการเกษตรไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากนัก รวมทั้งระบบไม่ประสบภาวะวิกฤติที่มากมายจนทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการเกษตรผลิตอย่างทันทีทันใด ความทันสมัยของการเกษตรในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นการทำนารวมทั้งการผลิตยางพาราเกิดขึ้นเพราะการเข้าไปเกี่ยวข้องทางการค้ากับเศรษฐกิจโลกภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดความมแตกต่างกันภายในกลุ่มคนในระบบสังคมเกษตรกร การผลิตยางพารา ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างทางด้านผลิตภาพของแรงงานในครัวเรือนของเกษตรกรแต่ละประเภท รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างในระบบ ผลการศึกษาทำให้สามารถเสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพาราตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับฟาร์มเพื่อความมีถาวรภาพของระบบอันได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างการตลาดชั้นต้น การใช้ยางภายในประเทศเพื่อยกระดับราคายาง การพัฒนาเพื่อความสามารถในการแปรรูปและขายยาง การให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเกษตรกรอย่างจริงจัง การพัมนาคุณภาพยางแผ่นให้ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกในอนาคต การใช้นโยบายลดราคาปัญจัยการ ผลิตทั้งทางด้านปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางเคมี รวมทั้งปัจจัยทางกายภาพด้วยการยับยั้งไม่ให้แรงงานในท้องถิ่นต้องออกไปสู่ระบบอุตสาหกรรมเร็วเกินไป โดยการให้ความสำคัญกับเกษตรกรประเภทที่มีความสามารถในการออมน้อยกว่า และประการสุดท้ายการพัฒนาระบบการปลูกพืชและการทำเกษตรที่สอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคตของระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพารา ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกร