รายละเอียดบทคัดย่อ


อภิพรรณ พุกภักดี, ไสว พงษ์เก่า และ อิสรา สุขสถาน. 2534. การทดสอบในไร่นาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีถั่วเหลืองและถั่วเขียวแก่เกษตรกร: ความเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยและการส่งเสริม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.355-373.

บทคัดย่อ

         รายงานของการวิจัยฉบับนี้ได้เสนอถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีถั่วเหลือและถั่วเขียว ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีของพืชดังกล่าวไปยังเกษตรกร โดยใช้แนวคิดของการวิจัยรบบการทำฟาร์มเป็นหลัก การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เหมาะสมกับฟื้นที่เป้าหมายใด ๆ ก็ตาม และเพื่อที่จะทำให้เทคโนโลยีนั้น เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรได้นั้น ความเชื่อมโยงของการวิจัยและการส่งเสริมมีความสำคัญเป็นอย่งยิ่งที่จะทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวสำเร็จตามเป้าหมายได้ ในบทความนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยและนักส่งเสริมในการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย บทบาทของนักส่งเสริมในการเลือกเกษตรกร ความร่วมมือในการหาข้อมูลทุติยภูมิ และปฐมภูมิ เพื่อสามารถที่ะนำมาวิเคราะห์เพื่อที่จะได้ทราบถึงปัญหาของพื้นที่นั้น ๆ ตลอดจนายละเอียดต่าง ๆ ที่นักวิจัยจะนำมาพิจารณาในการวางแผนการวิจัย การทดสอบในไร่นาเกษตรกรนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการทดสอบให้ทราบว่าเทคโนโลยี หรือการจัดการต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการวิจัยในสถานีทดลองนั้น เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่เป้าหมายและเกษตรกรอย่างไร ถึงแม้การทดสอบในแปลขนาดเล็กที่เรียกว่า Research managed trial จะดำเนินการเรียกกันว่า Superimposed trial นั้น เป็นการทดสอบที่เกษตรกรมีส่วนร่วมในการทดสอบเทคโนโลยีโดยอาศัยทรพัยากรฟาร์มที่มีอยู่ นอกเหนือจากการคัดเลือกเกษตรกรเข้าโครงการแล้ว การประสานงานระหว่างนักวิจัยและเกษตรกร ตลอดจนการเร่งเร้าให้เกษตรกรอื่น ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจยในไร่นา เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เกษตรกรจะนำไปใช้ได้ต่อไป ล้วนแต่เป็นภาระของนักส่งเสริมทั้งสิ้น เมื่อการทดสอบในไร่นาได้ทำมาถึงระดับหนึ่งจนนักวิจัยทรายว่าเทคโนโลยีชนิดใดบ้างที่ควรจะใช้ในพืชนั้น ๆ การรวบรวมชุดของเทคโนโลยีของพืชแต่ละชนิดเช่นถั่วเหลืองและถั่วเขียวในลักษณะของคำแนะนำเฉพาะพื้นที่เป้าหมาย แล้วนำไปทดสอบในแปลงใหญ่อีกครั้งหนึ่งจึงเกิดขึ้น หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องพืชดังกล่าวได้ดีในขณะเดียวกันเกษตรกรก็ได้รับความสนับสนุนในด้านปัจจัยการผลิตจากโครงการวิจัยด้วย