รายละเอียดบทคัดย่อ


สุมิตรา ปิ่นทองคำ, อินทรัตน์ เสราดี และ เพ็ญแข นาถไตรภพ. 2534. การวิเคราะห์ผลต่างของผลผลิตถั่วเหลืองที่ปลูก ในนาหลังข้าว จ. เชียงใหม่.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.393-409.

บทคัดย่อ

         ถั่วเหลืองที่ผลิตได้ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรยังอยู่ในระดับต่ำกว่าผลผลิตถั่วเหลืองจากแปลงทดลอง ดังนั้น เพื่อศึกษาถึงสาเหตุที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อแก้ไขและปรับปรุงการผลิต คุณภาพ ตลอดจนลดต้นทุนในการผลิต ได้ทำการศึกษา โดยในปีที่ 1 (2532) แบ่งกสิกรออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับปัจจัยในการผลิตจากโครงการ (เมล็ดพันธุ์ สจ5, ปุ๋ย 12-2-412 อัตรา 20 กก./ไร่ สารเคมี ป้องกันกำจัดแมลงและวัชพืช) ทำการทดลองที่ไร่กสิก อ.แม่แตง 8 ราย ส่วนกสิกรกลุ่มหลังให้กสิกรรับผิดชอบซื้อ ปัจจัยในการผลิตเอง ทั้งนี้ กสิกรทั้งสองกลุ่มได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติดูแลรักษาจากนักวิชาการของศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ เท่ากัน ผลการทดลองพบว่า ความแตกต่างของผลผลิตในแปลงกสิกรสองกลุ่มนี้ใน อ.แม่ริม และ อ.แม่แตง เท่ากับ 46.80% และ 76.92% ตามลำดับ เมื่อใช้พันธุ์ ชม. 60 และ 11.27% ตามลำดับ เมื่อใช้พันธุ์ สจ. 5 ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างของผลผลิตดังกล่าวได้แก่คุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก วัชพืชและหนู ส่วนทางด้านสังคม ได้แก่ กิจกรรมนอกฟาร์มตลอดจนการขาเงินทุนของกสิกร ซึ่งมีผลต่อการจัดการและการใช้ระดับของปัจจัยการผลิต งานในปีที่ 2 (2532) วางแผนการทดลองแบบ Split split design 12 ซ้ำ Main plot เผาฝาง ไม่เผาฟาง sub plot คือ ปลูกโดยใช้เครื่อง INVEERTED-T และปลูกโดยใช้ไม้กระทุ้ง sub sub plot คือใช้ heribcide ใช้ฟางคลุมและไม่กำจัดวัชพืช ทำการทดลองในไร่กสิกร อ.สันป่าตอง 6 ราย ๆ ละ 2 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การเผาฟางและไม่เผาฟาง การปลูกโดยใช้เครื่องหรือใช้ไม้กระทุ้ง การใช้ heribicede หรือการใช้ฟางคลุมไม่ทำให้ผลผลิตต่างกัน แต่การไม่กำจัดวัชพืชทำให้ผลผลิตลดลอง ส่วนงานทดสอบงางแผนการทดลองแบบ RCB มี 6 กรรมวิธี คือปลูกโดยใช้เครื่องปลูกแบบ INVERTED-T และปลูกโดยใช้ไม้กระทุ้ง โดยมีการเผาฟาง ไม่เผาฟางแต่ตัดตอชังกับไม่ตัดตอซัง ทดสอบในไร่กสิกร อ.หางดง 10 ราย และ อ.สันป่าตอง 10 ราย ผลการทดสอบได้ผลเช่นเดียวกับงานทดลอง คือ ทั้ง 6 กรรมวิธี ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่าถ้าจะลดต้นทุนการปลูกถัวเหลืองก็ไม่ควรตัดฟาง ปูฟาง เผาฟาง สามารถลดต้นทุนได้ 130 บาท/ไร่ และในภาวะที่ขาดแคลนแรงงานเช่นปัจจุบันใช้เครื่องมือทุ่นแรงจะเหมาะสมและลดต้นทุนแรงงานในการปลูกได้ 4 คน/ไร่ (240 บาท/ไร่) นอกจากนั้นยังสามารถการใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถึง 4-6 กก./ไร่ (90 บาท/ไร่) การเพิ่มผลผลิตต่อไร่สามารถทำได้เมื่อมีการกำจัดวัชพืชโดยใช้ฟางคลุมหรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช