รายละเอียดบทคัดย่อ


ชัชรี นฤทุม, Jean Christophe Castella, ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์, กิตติ สิมศิริวงษ์, จงเจตน์ จันทร์ประเสริฐ และ G. Trebuil. 2534. การวินิจฉัยระดับไร่นาเกี่ยวกับระบบการปลูกผักแบบประณีตเพื่อการส่งออกเพื่อพัฒนาไปสู่ความยืนยงของระบบการทำฟาร์มรายย่อยในอำเภอกำแพงแสน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.410-424.

บทคัดย่อ

         ผลการวินิจฉัยขั้นต้นเมื่อปี 2532 บนพื้นฐานทฤษฎีว่าด้วย การวิวัฒนาและการแตกแยกของระบบเกษตรกรรม โครงการวิจัเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรม (DORAS) พบว่าระบบการปลูกผัก ที่ใช้แรงงานแบบประณีตจะช่วยให้เกษตรกรายย่อยซึ่งมีหนี้สินท่วมท้นของตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีโอกาสยืนยงอยู่ในระบบเกษตรกรรมได้ดังต่อไป ความสำเร็จของการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในพื้นที่ตำบลทุ่งขวางเป็นผลสืบเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจ-สังคม โครงการ DORAS ได้ดำเนินการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ หลายด้านที่แตกต่างกัน เช่น การสนับสนุนช่วยเหลือการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การศึกษาผลของการนำพืชผักส่งออกมาปลูกในระบบการผลิตทางเกษตรและการให้คำแนะนำส่งเสริมด้านเทคนิคแก่ เกษตรกรในระดับแปลงเกษตรกร การส่งเสริมสนับสนุนดังกล่าวเป็นการเพิ่มความยืนยงระยาวให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย โดยการยกระดับเกษตรกรและการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการแรงงาน โดยไม่มีผลกระทบต่อความสำคัญของระบบการผลิตอ้อย กลุ่มผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้มีอำนาจในการต่อรองสูงขึ้น โดยจำเป็นจะต้องจัดหาแหล่งให้ความรู้ด้านเทคนิคที่เหมาะสม ให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดและด้านเงินทุนระยะแรก แม้ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีต่อระบบเกษตรกรรมในภูมิภาคนี้จะนำผลดีมาสู่ชุมชนอย่างกว้างขวาง แต่ก็ไม่ควรละเลยต่อปัญหาบางอย่างเช่น ผลระยะยาวของระบบการปลูกผักแบบประณีที่มีผลต่อความยืนยงของระบบนิเวศวิทยาในอนาคต และนี่คือเหตุผลที่ว่า การมีวามพยายามทำวิจัยยังต้องมีการดำเนินต่อไป