รายละเอียดบทคัดย่อ


สมชาย ชาญณรงค์กุล, ชวาลวุฑฒ ไชยนุวัติ และ สมนึก นิ่มละมัย. 2534. การทดสอบเพื่อการส่งเสริมการใช้ถั่วเขียวพันธุ์ดีในท้องถิ่น.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.437-448.

บทคัดย่อ

         การศึกษาและทดสอบเพื่อการส่งเสริมการใช้ถั่วเขียวผิวมันพันธุ์ดีในท้องถิ่น โดยดำเนินการ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยการศึกษาและทำความเข้าใจ การวางแผนศึกษาและทดสอบ การศึกษาและทดสอบ และการแนะนำส่งเสริมเพื่อขยายผล โดยดำเนินการในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของถั่วเขียว รวม 10 จังหวัด คือ แพร่ พะเยา พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ นครราชสีมา อุดรธานี และพัทลุง มด.1 ทั้งนี้ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พันธ์ดีที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นเพื่อขยายผลต่อไป ผลจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่าปัญหาในการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวส่วนใหญ่ คือ ปัญหาการใช้พันธุ์ถั่วเขียพันธุ์ดี ของลงมาเป็นเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี และจากการทำแปลงทดสอบเพื่อขยายผลการยอมรับในไร่นาเกษตรกรของจังวัดพัทลุง พบว่าพันธุ์กำแพงแสน 2 ซึ่งให้ผลผลิตสูงสุดในจำนวนที่สดสอบ คือ 86 กก./ไร่ เกษตรกรยอมรับ ทั้งด้านผลผลิตและลักษณะต่าง ๆ ที่ตรงกับสภาพพื้นที่และความต้องการของลาด ส่วนพันธุ์กำแพงแสน 1 มีปัญหาเรื่องการติดฝักน้อยมาก พันธุ์ชัยนาท 60 และพันธุ์ มอ. 1 เกษตรกรยอมรับรองลงมาจากพันธุ์กำแพงแสน 2 ส่วนพันธุ์อู่ทอง 1 นั้น ไม่เป็นที่ยอมรับ แม้ผลผลิตจะสูงแต่ลักษณะอื่น ๆ เกษตรกรไม่ยอมรับสำหรับการขยายผลกาทดสอบดำเนินการในลักษณะการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนพันธุ์ดี เพื่อรองรับผลจากแปลงทดสอบต่อไป