รายละเอียดบทคัดย่อ


อัจฉรา จิตตลดากร และ สุพจน์ เฟื่องฟูวงค์. 2533. เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดที่เหมาะสมสำหรับเกษตรในจังหวัดศรีษะเกษ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.92-109.

บทคัดย่อ

         การศึกษาหาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรได้ทำการศึกษาในพื้นที่ดินเหนียวสีแดงชุดโชคชัย ในอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญซึ่งเป็นเขตปลูกข้าวโพดที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์เกษตรกร 4 ครั้งในเดือนมีนาคม 2529 - 2523 และการทดลอง 3 ขั้นตอนต่อเนื่องกันตามลำดับคือ การทดลองหาระดับการใช้ปัจจัยการผลิต (level experiment) ในปีเพาะปลูก 2529 การทดลองเพื่อยืนยันผล (verification experiment) ในปีเพาะปลูก 2530 และการทำแปลงสาธิต (demonstration trial) ในปีเพาะปลูก 2531 การทดลองทั้งหมดกระทำในฤดูต้นฝนคือ ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ของแต่ละปี ผลการสัมภาษณ์เกษตรกรพบว่า เกษตรส่วนใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้ แหล่งความรู้ในการเพาะปลูกข้าวโพดที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีแรงงานในครอบครัวค่อนข้างน้อยทำให้มีการจ้างแรงงานเพิ่มเติมมาก การใช้พันธุ์ลูกผสมยังไม่แพร่หลาย แต่การใช้ปุ๋ยอย่างแพร่หลาย การทดลองหาระดับการใช้ปัจจัยการผลิต 4 การทดลองคือ การเปรียบเทียบพันธุ์ปรับปรุง 12 พันธ์ ทดลองปุ๋ย 10 ตำรับ ทดลองหาอัตราและเวลาการใช้ปุ๋ย 7 วิธีกร และการทดลองการป้องกันกำจัดวัชพืช 6 วิธีการ ผลการทดลองพบว่า พันธุ์ปรับปรุงส่วนใหญ่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์สุวรรณ 1 การใช้ปุ๋ยตำรับและอัตราต่าง ๆ ให้ผลผลิตแตกต่างกัน แต่การใช้ปุ๋ยในเวลาต่างกันและป้องกันกำจัดวัชพืชด้วยวิธีต่างกันให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน การทดลองการใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มผลได้และการทำแปลงสาธิต เปรียบเทียบการใช้พันธุ์สุวรรณ 1 กับ พันธุ์ลูกผสม เมื่อไม่ใส่ปุ๋ย 6 กิโลกรัม N/ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใช้พันธุ์ลูกผสมและใส่ปุ๋ย เป็นวิธีการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุน