รายละเอียดบทคัดย่อ


อาลัย มาศจรูญ, ทรรศนะ ลาภรวย, ไพบูลย์ พงษ์สกุล และ นคร แสงปลั่ง. 2533. การปลูกข้าวสาลีหลังนาปี.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.398-408.

บทคัดย่อ

         กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ริเริ่มงานทดสอบและส่งเสริมการปลูกข้าวสาลีหลังเสร็จสิ้นการทำนาปี มาตั้งแต่ปี 2527 พบว่า การปลูกข้าวสาลีมีศักยภาพสูงในพื้นที่นาที่มีน้ำชลประทานในฤดูแล้งและมีสภาพดินร่วน การระบายน้ำดี ซึ่งจากการวิเคราะห์พื้นที่โดยคณะทำงานวิเคราะห์พื้นที่ กำหนดเขตการผลิตข้าวสาลี - บาร์เลย์ ระบุว่าในภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด อันได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับน้ำโครงการชลประทานหลวงและโครงการชลประทานขนาดกลางและขนาดเล็กเหมาะสมแก่การปลูกข้าวสาลีประมาณ 192,789 ไร่ และจากการสำรวจในแปลงเกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวสาลีในฤดูเพาะปลูกปี 2531/2532 พบว่าเกษตรกรบางรายสามารถผลิตข้าวสาลีได้มากกว่า 250 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีต้นทุนการผลิตไร่ละ 658 บาท และสามารถขายผลผลิตให้กับบริษัทแป้งข้าวสาลีที่ร่วมโครงการได้ในราคาประกัน คือ กิโลกรัมละ 5.50 บาท จากผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ผลผลิตที่จะทำให้คุ้มทุน คือ 120 กิโลกรัม/ไร่ แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันยังมีเกษตรกรเพียงส่วนน้อยที่สามารถปลูกข้าวสาลีได้ผลผลิตสูง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการปฏิบัติของเกษตรกรที่เป็นข้อจำกัด ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ เช่น ปลูกล่าช้า ให้น้ำมากจำนวนต้นหนาแน่น โรยเมล็ดตื้นหรือไม่กลบเมล็ด ฯลฯ แต่จากการสังเกตุการณ์พบว่าเกษตรกรรายที่ปลูกข้าวสาลีต่อเนื่องตั้งแต่สองฤดูขึ้นไปจะปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดียิ่งขึ้น และยังมีการดัดแปลงวิธีการเขตกรรมให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ได้อีกด้วย จึงทำให้ประสบผลสำเร็จได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงด้วย