รายละเอียดบทคัดย่อ


ศุภชัย บางเลี้ยง, ชนวน รัตนวราหะ, สำเนียง วิริยะศิริ, ชวนชื่น เดี่ยววิไล และ รังสรรค์ คีรีทวีป. 2533. ศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสมในระบบการเกษตรที่ดอนอาศัยน้ำฝน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.456-466.

บทคัดย่อ

         ศึกษาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสมในระบบเกษตรที่ดอนอาศัย ณ สหกรณ์นิคมพร้าวแปลง 1 ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้เกษตรกรหญิงทำการเลี้ยงไก่พันธุ์โร๊ดไอร์แลนด์เรดเพศเมีย 7 ตัวต่อไก่ชนพื้นเมืองเพศผู้ 1 ตัวในโรงเรียนเดียวกันเพื่อทำการผลิตไก่พื้นเมืองลูกผสมซึ่งมีการเจริญเติบโตดีกว่าไก่พื้นเมือง พบว่าการเริ่มเลี้ยงไก่แม่พันธุ์จากไก่รุ่นใช้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการซื้อไก่สาวใกล้ไข่มาเลี้ยงโดยมีต้นทุน 120 และ 65 บาทต่อตัวตามลำดับอัตราการไข่ 15.2 ฟองตัวต่อเดือน การใช้ประโยชน์จากไข่ส่วนใหญ่ในการบริโภคมากถึง 55.6 เปอร์เซ็นต์ ขายไข่เป็นรายได้ประมาณ 34.3 เปอร์เซ็นต์ และทำการฟักเพียง 8.1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากตู้ฟักไข่ไฟฟ้าได้เต็มที่เพราะไฟฟ้าในหมู่บ้านดับบ่อยโดยเฉพาะในฤดูฝน และการใช้แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ต้องใช้เทคนิคในการจัดการซึ่งการปฏิบัติได้ยาก ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดุไก่ไข่ประมาณเดือนละ 137.87 บาทต่อครัวเรือน เกษตรกรที่นำไข่มาใช้ในการบริโภคมากรวมทั้งเกษตรกรที่มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูสูงและไก่มีอัตราการไข่ต่ำจะมีรายได้เหนือต้นทุนเฉลี่ยและ 611.45 บาทต่อครอบครัว ส่วนเกษตรกรที่มีการบริโภค - ขาย และนำบางส่วนมาฟักมีรายได้เฉลี่ยรวม 289.85 บาทต่อครอบครัว การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสมระหว่างไก่ชนพื้นเมืองและไก่โร๊ดไอร์แลนด์เรดพบว่า การเลี้ยงดูใช้เวลาเฉลี่ย 85 วัน น้ำหนักเฉลี่ยเมื่อขาย 0.85 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 31.00 บาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อตัว 23.32 บาท ได้กำไรเฉลี่ย 4.71 บาทต่อตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการตายและการจัดการ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสมของเกษตรกรหญิงและเกษตรกรชาย เช่นการเกษตรทั่วไปและมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการให้น้ำ และอาหารมากขึ้นเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ก่อเกิดรายได้ ส่วนการซื้อขายส่วนใหญ่อยุ๋ในความรับผิดชอบของเกษตรกรหญิง