รายละเอียดบทคัดย่อ


สรศักดิ์ ธีระสุขจินดา. 2533. ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของการใช้รถเกษตรกร (อีแต๋น).  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.477-487.

บทคัดย่อ

         ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงมีบทบาทสำคัญมากในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเพิ่มผลผลิต การแปรรูป ตลอดจนการขนผลผลิต และอื่น ๆ รถอีแต๋นเป็นเครื่องจักรเครื่องทุนแรงทางการเกษตรประเภทหนึ่ง ซึ่งนับวันยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากความเอนกประสงค์ของตัวรถอีแต๋นเอง กล่าวคือ ในภาคการเกษตรสามารถใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไปทำไร่นาขนปัจจับการเกษตร ขนผลิตผลมายังยุ้งฉางได้อีก อาทิ เช่น ไปตลาด ไปเที่ยวหรือทำธุรกิจในเมือง ช่วยงานเพื่อนบ้านหรืองานวัดอีกทั้งใช้ในยามฉุกเฉิน เจ็บไข้ได้ป่วย และอื่น ๆ อีกมาก ในการวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาถึงความสำคัญของรถอีแต๋นในแง่ของการใช้งานในด้านการเกษตร ทั้งในฟาร์มและนอกฟาร์มตลอดจนการศึกษาถึงภาวะเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไปของการใช้รถอีแต๋น การขนส่งผลิตผลการเกษตรแต่เดิมนั้นค่าใช้จ่ายของการขนผลผลิตค่อนข้างสูง เนื่องจากเกษตรกรต้องว่าจ้างรถรับจ้างขนพืชผลการเกษตร ไปสู่โรงงานหรือสู่ความต้องการผู้บริโภค และตลาด และในบางปีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยเป็นผลให้ผลผลิตการเกษตรได้ค่อนข้างมาก ต้องประสบกับปัญหาความยากลำบากในการว่าจ้างรถขนผลผลิต เพื่อให้ทันต่อเวลาและความต้องการจากเหตุผลต่าง ๆ ดัวกล่าวข้างต้นเป็นผลทำให้เกษตรกรนิยมซื้อหารถอีแต๋นมาใช้กันเพิ่มขึ้น เพราะราคารถ อีแต๋นค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับรถบรรทุกจากต่างประเทศทั่ว ๆ ไป อีกทั้งยังเหมาะสมกว่าในสภาพของการใช้งานในไร่นา เพื่อเป็นการประหยัดทั้งเวลาค่าใช้จ่ายทันต่อสถานการณ์ วัตถุ/ประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาและวิจัยถึงผลตอบแทนจาการลงทุนในเชิงเศรษฐกิจการใช้รถอีแต๋น และเพื่อศึกษาถึงสภาวะเศราฐกิจและสังคมของการใช้รถอีแต๋นอันทำให้ทราบถึง การใช้รถอีแต๋นของเกษตรกรในด้านกรเกษตร และบริหารทางด้านสังคมหรืออื่น ๆ ผลการศึกษาและวิจัยสรุปได้ว่า เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางนิยมใช้รถเกษตรกรหรือเรียกตามพื้นบ้านว่าอีกแต๋น มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะราคารถอีแต๋นถูกกว่าราคารถบรรทุก (ปิ๊กอัพ) มาก เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในครัวเรือนและการใช้งานจะต้องรับจ้างขนผลผลิตของตนเองอย่างน้อย 219.52 ชั่วโมง จึงจะคุ้มทุนและที่ระดับการทำงาน 250 ชั่วโมง ผลการตอบแทนต่อการลงทุน (B/C) = 1.1062 อัตราดอกเบี้ยลงทุน 12.5% กำไรสุทธิ (NPW) = 11,214 บาท การลดข้อจำกัดของพื้นที่แห้งแล้ง โดยวิธีการพัฒนาแหล่งน้ำหรือฝันน้ำอาจกล่าวได้ว่าทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้นทุนจำกัด และต้องมีการลงทุนสูง แม้ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำจะมีขึ้นได้ ปัญหาในด้านการจัดการในการใช้น้ำเพื่อการผลิตก็เป็นอีกข้อจำกัดหนึ่งที่การผลิตของเกษตรกรแต่ละรายแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการลดข้อจำกัดโดยวิธีการวิจัยในระบบนิเวศน์เกษตรทำการผลิตพืชทนแล้งที่มีศักยภาพในทางการผลิตการตลาด และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร นับว่าเป็นแนวทางที่มีความเป็นไปได้เมื่อพิจารณาถึงข้อจำกัดดังกล่าว ดอกคำฝอยถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยลดข้อจำกัดทางชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม เพราะโดยคุณลักษณะแล้วเป็นพืชที่ปลูกหลังฤดูฝน ซึ่งจะเป็นพืชรุ่นสองของระบบปลูกพืชที่ไม่เสี่ยงต่อปัญหาเรื่องน้ำ ในเชิงเศรษฐกิจนั้นผลตอบแทนต่อการลงทุน และแรงงานนั้นอยู่ในเกณฑ์สูง อีกประการหนึ่งพืช สกัดเอาน้ำมันซึ่งมีคุณค่าในการบริโภค และได้รับความสนใจแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ความต้องการมีเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะการโภชนาการโดยการแนะนำของแพทย์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันดอกคำฝอยซึ่งเป็นอุสาหกรรมใหม่นี้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายส่งเสริมการผลิต การลงทุนด้านโรงงานสกัดนำมัน จำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายส่งเสริมการผลิต การลงทุนด้านโรงงานสกัดน้ำมัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้บริโภคได้เล็งเห็นความสำคัญของการโภชนาการซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมพืชน้ำมันชนิดนี้มีบทบาทมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร ผู้ผลิตและผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้นี้