รายละเอียดบทคัดย่อ


เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์, เสาวลักษณ์ ชมภูนุช และ สมพร อิศวิลานนท์. 2535. ไผ่พื้นบ้านกับการพัฒนารายได้สมาชิกหมู่บ้านป่าไม้ซับลังกา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 9 : . ระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2535 ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จ.ภูเก็ต.  น.55-62.

บทคัดย่อ

         การศึกษา ไผ่พื้นบ้านกับการพัฒนารายได้สมาชิกหมู่บ้านป่าไม้ ได้จัดทำขึ้นที่โครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติในรูปหมู่บ้านป่าไม้ซับลังกา จังหวัดลพบุรี เพื่อให้ทราบสภานภาพและศักยภาพของป่าไผ่และการกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์ป่าไผ่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จากการศึกษาโดยสรุป ป่าไม่มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ ประกอบด้วยไผ่รวก เป็นส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ปริมาณไผ่รวมทั้งหมด 97,982 กอ หรือ 5,512,580 ลำเป็นลำอายุน้อยกว่า 3 ปี ร้อยละ 48 ลำอายุเกิน 3 ปี ร้อยละ 52 โดยมีอัตราส่วนระหว่างลำเป็นและลำตายเท่ากับ 57.5 และ 42.5 มีราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้านประชากรประมาณ 574 ครัวเรือนได้รับประโยชน์โดยตรงจาการใช้ลำไผ่ประมาณครัวเรือนละ 75 ลำต่อปี และเก็บหน่อไม้ขาย การเก็บหน่อไม่ในปี พ.ศ. 2530 และ 2534 คิดเป็นมูลค่า 223,120, 361,207 และ 360,485 ตามลำดับสถานภาพป่าไผ่อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรม เนื่องจากการตัดไม้ไผ่และการเก็บหน่อไม้อย่างไม่ถูกหลักวิชาการ ทำให้กอไผ่แน่นและผลผลิตหน่อไม้ลดลง จำนวนลำไผ่แก่และลำไผ่ตายมีสูงมากผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการควบคุมตัดไผ่และเก็บหน่อไม้ที่ถูกหลักวิชาการและมีการจัดองค์กรเพื่อแบ่งผลประโยชน์ให้เสมอภาคเพื่อให้ป่าไผ่มีผลผลิตต่อเนื่องยั่งยืนแก่สมาชิกหมู่บ้านป่าไม้ซับลังกา