รายละเอียดบทคัดย่อ


สมภพ มานะรังสรรค์. 2534. ระบบการผลิตแบบมีสัญญาผูกพัน: ทางออกของเกษตรกรไทย?.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.517-527.

บทคัดย่อ

         ในอดีตสัดส่วนของมูค่าผลผลิตในาขาเกษตรต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์ประขาชาตเบื้งต้น (GNP) อยู่ที่ระดับที่สูงมาก กล่าวคือเคยสูงถึงประมาณครึ่งหนึ่งGNP เมื่อประมาณ 4 ทศวรรษที่แล้ว แต่สัดส่วนดังกล่าวก็ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาล่วงผ่านไป กล่าวคือได้ลดลงเหลื่อ 20% 17% และ 14%ในปี 2526 2530 c]t 2532 ตามลำดับ โดยที่ภาคการผลิตในสาขาอื่น ๆ เช่น ภาคหัตถอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การเงินการธนาคาร และภาคบริการได้ขยายตัวขึ้นมาแทนที่ และการขยายตัวในอัตราทีสูงกว่าภาคเกษตรมาก ตัวอย่างเช่นในปี 2527 ขณะที่ภาคเกษตรขยายตัวขึ้น 3.3% นั้น ภาคนอกเกษตรกลับเติบโตขึ้นถึง 6.2% อย่างไรก็ดีแม้ว่าสัดส่วนสาขาการเกษตรใน GNP จะลดลงอย่างมากมายในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ประชากรในภาคนี้ก็ยังคงเป็นส่วนใหญ่ของประชากรไทย กล่าวคือในปี 2538 ภาคเกษตรมีประชาการถึง 34 ลานคน หรือ คิดเป็น 64% ของทั้งประเทศ หรือถ้าจะพิจารณาเฉพาะประชากรในวัยทำงาน (Labour force) ก็จะมีถึงเกือบ 19 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 60 % ของประชากรในวัยทำงานในปีเดียวกันนี้ มูลเหตุสำคัญที่ทำให้สาขาเกษตรลงความสำคัญลงเมื่อดูจากสัดส่วนใน GNP ก็เพราะ สาขาการผลิตพืชซึ่งมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 2 ใน 3 ของมูลค่าสาขาเกษตรทั้งหมาด (รวมสาขาปศุสัตว์ ประมงและป่าไม่) ลดความสำคัญลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519) เป็นต้นมา โดยการขยายตัวได้ลดจาก 6% ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่3 เหลือ 3.9% และ 3.1% ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่5 (พ.ศ.2525-2529) ตามลำดับ