รายละเอียดบทคัดย่อ


เบญจพรรณ เอกะสิงห์ เมธี เอกะสิงห์ และ ธันยา พรหมบุรมย์.  2545. การวัดค่าคุณสมบัติของระบบเกษตรที่สูงเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน .  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 2 :ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ . ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2545  ณ โรงแรมโฆษะ จ. ขอนแก่น.  น.281-298.

บทคัดย่อ

         การวัดและประเมินค่าคุณสมบัติของระบบเกษตรอาทิ ผลิตภาพ เสถียรภาพ ความหลากหลาย ความยั่งยืน และความเสมอภาค อาจทำได้หลายวิธี แต่งานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้วิธีอย่างง่ายเพื่อหาคุณสมบัติของระบบเกษตรที่สูงโดยอาศัยข้อมูลในระดับครัวเรือนของเกษตรกร ทั้งนี้ในด้านการผลิตภาพเน้นการศึกษารายได้ของครัวเรือนเป็นหลัก ในด้านเสถียรภาพใช้เสถียรภาพด้านราคาและความเสี่ยงของตลาดเป็นตัวชี้วัด ในด้านความหลากหลาย เน้นศึกษาความหลากหลายในด้านรายได้และชนิดพืชเป็นหลัก ส่วนในด้านความยั่งยืนอาศัยข้อมูลการปฏิบัติในด้านต่างๆ ของเกษตรกรในการทำฟาร์ม แล้วนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณหาดัชนีการใช้ที่ดินแบบอนุรักษ์ และดัชนีความเสี่ยงด้สนสิ่งแวดล้อม ในด้านความเสมอภาค ศึกษาวัดการกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ และ การหาสัดส่วนของเกษตรกรที่อยู่ภายใต้เส้นความยากจน นอกจากนี้การศึกษานี้ยังได้วัดความมั่นคงทางสังคม โดยหาข้อมูลจากเกษตรกรเกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น สิทธิที่ดินทำกิน และการพึ่งพาตนเอง เป็นต้น การศึกษานี้ดำเนินการวิจัยในครัวเรือนเกษตรกรที่ใช้พื้นที่บนที่สูงในสถานรเกษตรหลวงอ่างขาง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ในจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ฯ พระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากเกษตรกร ในปี 2543 สุ่มครอบคลุมทั้งเกษตรกรที่เป็นและไม่เป็นสมาชิกโครงการหลวง ผลการศึกษาแสดงว่า ระบบเกษตรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงที่ศึกษาวัดจากคุณสมบัติของระบบมีคุณสมบัติที่นำไปสู่ความยั่งยืนในการพัฒนาด้านเศราฐกิจสังคม รวมทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่มีบางประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทางด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณสมบัติของระบบดังกล่าวข้างต้นมีความแตกต่างกันในแต่ละศูนย์ฯ และผลจากการวิเคราะห์หาคุณสมบัติของระบบต่างๆ เหล่านี้ สามารถระบุได้ว่าพ้นที่ใดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีปัญหา ทั้งนี้ผลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ จะเป็นประประโยชน์สำหรับผู้วางแผนหรือนโยบายในการช่วยตัดสินใจ เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และควรจะทำควบคู่กับการวางแผนทางด้านกายภาพ ชีวภาพ