รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมังคุดตามระบบ GAP ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 :ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Agricultural Systems - Save the World to Save Life) . ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.  น.100-115.

บทคัดย่อ

         การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมังคุดตามระบบ GAP ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบปัญหาการใช้เทคโนโลยีและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมังคุดของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และ 2) ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและปรับแผนงานวิจัยให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร มีขั้นตอนการดำเนินการ คือ การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบัญชีรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองแหล่งผลิตมังคุดและคัดเลือกประชากรเป้าหมาย จัดทำแบบสัมภาษณ์และการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูล เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2552 ที่จังหวัดพัทลุง (ปี 2551) สงขลา และสตูล (ปี 2552) โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกรตามบัญชีรายชื่อที่เป็นสมาชิก GAP มังคุดและเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิก จำนวน 300 150 และ150 ราย ตามลำดับ ผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมังคุดตามระบบ GAP ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พบว่าเกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมังคุดตามระบบGAP น้อยและปานกลางร้อยละ 52.7 และ 46.7 ตามลำดับ ส่วนเทคโนโลยีการผลิตมังคุดที่เกษตรกรมีการยอมรับอยู่ระดับมาก ได้แก่ เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวร้อยละ 98.8 ส่วนเทคโนโลยีด้านการเตรียมความพร้อมต้นหลังเก็บเกี่ยว การจัดการเพื่อชักนำการออกดอกและควบคุมปริมาณดอกต่อต้นและการจัดการเพื่อพัฒนาผลและเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพ ร้อยละของตัวแทนเกษตรกรมีการยอมรับระดับน้อย เนื่องจากเกษตรกรเป็นเกษตรกรรายย่อยจึงไม่ต้องการเพิ่มต้นทุนการผลิต และประกอบกับเกษตรกรไม่มีความรู้ทางด้านดังกล่าวที่ถูกต้อง