รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การพัฒนาเทคโนโลยีแบบบูรณาการในการผลิตถั่วเหลืองฝักสดหลังนาเพื่อการส่งออกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 :ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Agricultural Systems - Save the World to Save Life) . ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.  น.116-126.

บทคัดย่อ

         ภาคเหนือตอนล่าง เป็นแหล่งผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อส่งจำหน่ายต่างประเทศในรูปแช่แข็งแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่นาฤดูแล้ง ซึ่งให้ผลผลิตค่อนข้างสูง แต่ในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรมักประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง จึงได้ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีแบบบูรณาการในการผลิตถั่วเหลืองฝักสด เพื่อลดต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย 2 วิธีการ คือ วิธีแนะนำ คือ ใช้เชื้อไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองคลุกเมล็ดก่อนปลูก และใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ เมื่ออายุ 14-21 วันหลังปลูก และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 25 กก./ไร่ เมื่ออายุ 40-45 วันหลังปลูก และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่ เมื่ออายุ 45-50 วันหลังปลูก และใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 อัตรา 50 กรัม ละลายน้ำ 20 ลิตร พ่น 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ระยะก่อนออกดอกถึงระยะพัฒนาเมล็ด เปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกร ดำเนินการที่อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ในฤดูแล้ง ปี 2551-2552 ผลการทดลอง พบว่า การปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนล่างตามกรรมวิธีแนะนำ ซึ่งมุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิตสามารถให้ความสูงของต้น จำนวนฝัก และจำนวนเมล็ดลีบไม่แตกต่างกับวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ โดยมีผลผลิตฝักสดที่ได้มาตรฐานสูงกว่าวิธีเกษตรกร ร้อยละ 1.7 – 3.3 เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ผลปรากฏว่าวิธีแนะนำ มีผลตอบแทนสูงกว่าวิธีเกษตรกร ร้อยละ 94.4 – 99.1 ดังนั้น วิธีแนะนำสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต เฉลี่ยต่อหน่วยได้ ร้อยละ 17 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกร ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วย 12.67 บาทต่อกิโลกรัม