รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การขยายผลระบบพืช ข้าว-ข้าว ในพื้นที่ที่สูบน้ำด้วยไฟฟ้า ลุ่มน้ำชีตอนปลาย : กรณีการจัดระบบการผลิตพืชในนา ตำบลสงยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร .  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 :ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Agricultural Systems - Save the World to Save Life) . ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.  น.156-166.

บทคัดย่อ

         สภาพพื้นที่นาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อาศัยน้ำฝนเป็นหลักมีเพียงเล็กน้อยอยู่ในเขตชลประทาน ปัญหาการขาดน้ำสำหรับการปลูกข้าว จึงพบเสมอ เมื่อมีการจัดระบบน้ำสู่แปลงนาได้อย่างทั่วถึงแปลงนาเกษตรกร จึงเป็นโอกาสทีดีของการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและปลูกได้มากครั้ง สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนปลาย ที่มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร การศึกษา ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูกระบบ ข้าว-ข้าว และนำเป็นรูปแบบสำหรับเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางกายภาพเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบ ระบบคลองส่งน้ำสามารถกระจายน้ำสู่แปลงนา ได้สม่ำเสมอ และมีปริมาณน้ำมากพอสำหรับการปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนั้นปัจจัยทางการตลาด ราคาข้าวที่สูงขึ้น ความต้องการของตลาด ประสบการณ์ของเกษตรกร รวมทั้งมีการใช้เครื่องเกี่ยวข้าวได้รวดเร็ว ช่วยลดแรงงานการเก็บเกี่ยว เป็นผลให้เกษตรกร มีการขยายพื้นที่ระบบปลูกข้าวอย่างรวดเร็ว โดยปี 2549 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังเพียง 200 ไร่ เพิ่มข้นเป็น 5200 ไร่ ในปี 2551 และเพิ่มเป็น 11,600 ไร่ ในปี 2552 ซึ่งเป็นการขยายโอกาส ของการใช้ที่ดินสำหรับการผลิตมากครั้งเพิ่มขึ้น และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ทั้งนี้เกษตรกรยังมีปัญหาในการปลูกข้าวและใช้น้ำยังไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากพ้นที่นาเกษตรกร เป็นดินทรายเป็นส่วนใหญ่ จึงมีปัญหาการจัดส่งน้ำไม่ทั่วถึง ดินทรายมีโครงสร้างไม่ดี ทำให้เกิดปัญหาคลองส่งน้ำไม่ได้ รวมถึงปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปัญหาดินเค็ม ทำให้การขยายพื้นที่ระบบพืช ข้าว-ข้าว ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก