รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์สำหรับควบคุมโรคใบไหม้ของถั่วหรั่ง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 :ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Agricultural Systems - Save the World to Save Life) . ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.  น.216-223.

บทคัดย่อ

         ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของเกษตรกรในการปลูกถั่วหรั่งคือการเกิดโรคใบไหม้ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia solani ดังนั้นเพื่อหาทางออกให้กับเกษตรกรจึงได้ดำเนินการทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคใบไหม้ของถั่วหรั่งโดยใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus firmus สายพันธุ์ TRV 9-5-2 ในสภาพแปลงผลิตถั่วหรั่งพันธุ์สงขลา 1 ที่การเกิดโรคใบไหม้เป็นไปตามธรรมชาติจำนวน 6 แปลงในฤดูฝนปี พ.ศ. 2551 และ 2552 ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus firmus สายพันธุ์ TRV 9-5-2 ที่มีการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้โดยนักวิจัยของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติภาคใต้ โดยมีการเปรียบเทียบ 3 วิธีการ คือ 1.ปลูกถั่วหรั่งโดยมีการคลุกเมล็ดด้วยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ก่อนปลูกครั้งเดียว 2. ทำการคลุกเมล็ดด้วยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ก่อนปลูกร่วมกับฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ซ้ำ 3 ครั้งเมื่อพบเริ่มมีอาการของโรค และ 3. การปลูกถั่วหรั่งตามปกติซึ่งไม่ได้ใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ พบว่าการคลุกเมล็ดและฉีดพ่นซ้ำด้วยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผลผลิตของ ถั่วหรั่งในแปลงปลูกที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเกิดโรคใบไหม้ระดับรุนแรงยังคงอยู่ในระดับปกติได้ แต่ในกรณีที่จังหวัดปัตตานีซึ่งมีการเกิดโรคใบไหม้เพียงเล็กน้อย พบว่าผลผลิตของแต่ละวิธีการไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจน ส่วนที่จังหวัดพัทลุงและสงขลาที่พบว่าวิธีการปลูกตามปกติกลับให้ผลผลิตได้สูงกว่านั้น เป็นผลมาจากความผิดพลาดในการจัดการวัชพืช