รายละเอียดบทคัดย่อ


 . ศักยภาพการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อเป็นแหล่งอาหารหยาบในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและสงขลา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 :ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Agricultural Systems - Save the World to Save Life) . ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.  น.224-231.

บทคัดย่อ

         ปลูกทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตต้นสดของข้าวโพดและข้างฟ่างเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยการใช้พันธุ์ข้าวโพดจำนวน 4 พันธุ์ คือ พันธุ์แปซิฟิก 283 นครสวรรค์ 2 สุวรรณ 5 และสุวรรณ 4452 ข้าวฟ่างจำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สุพรรณบุรี 1 และ UTIS 23585 ดำเนินการที่จังหวัดพัทลุง และสงขลา ในปี 2551-2552 เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยรวมจาก 4 แปลงทดลอง พบว่า ข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 2 ให้ผลผลิตต้นสดเฉลี่ยสูงสุด 4,264 กก./ไร่ โดยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง พันธุ์สุวรรณ 5 ให้ผลผลิตต้นสดสูงสุด 3,677 กก./ไร่ และในแปลงเกษตรกร อ.ศรีนครินทร์ พันธุ์แปซิฟิก 283 ให้ผลผลิตต้นสดสูงสุด 4,246 กก./ไร่ ส่วนที่จังหวัดสงขลา ในสภาพอาศัยน้ำฝน ข้าวโพดทุกพันธุ์มีศักยภาพในการให้ผลผลิตได้เท่าเทียมกัน ยกเว้นพันธุ์แปซิฟิก 283 ที่ให้ผลผลิตต่ำกว่า ส่วนการปลูกโดยมีการให้น้ำ พันธุ์นครสวรรค์ 2 ให้ผลผลิตต้นสดสูงสุด 5,645 กก./ไร่ สำหรับข้าวฟ่าง พบว่า ในปี 2551 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง ซึ่งปลูกด้วยวิธีหว่านและโรยแถว พบว่า ข้าวฟ่างทั้งสองพันธุ์ให้ผลผลิตต้นสดไม่แตกต่างกันทางสถิติทั้งสองวิธีการปลูก โดยการปลูกด้วยวิธีโรยแถวพันธุ์ UTIS23585 มีผลผลิตต้นสดสูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 คือ 5,290 กก./ไร่ ส่วนการปลูกด้วยวิธีหว่านพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ให้ผลผลิตต้นสดสูงกว่าพันธุ์ UTIS 23585 คือ 3,876 กก./ไร่ ส่วนในแปลงเกษตรกร ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน พันธุ์สุพรรณบุรี 1 ให้ผลผลิตต้นสดสูงกว่าพันธุ์ UTIS 23585 แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีผลผลิตต้นสด 4,622 กก./ไร่ ในปี 2552 ผลการทดสอบทั้งในแปลงเกษตรกร ต.ลำปำ จังหวัดพัทลุง และที่ ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน เพื่อเก็บเกี่ยวต้นสดพบว่า ข้าวฟ่างพันธุ์ UTIS 23585 ให้ผลผลิตต้นสดสูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีเป็นอาหารสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพัทลุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวฟ่างสามารถให้ผลผลิตได้สูงมาก ในขณะที่ข้าวโพดแม้จะให้ผลผลิตน้อยกว่าข้าวฟ่าง แต่ให้คุณค่าทางอาหารสูง เมื่อนำมาทำเป็นอาหารหมัก