รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การสร้างเสถียรภาพระบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 :ระบบเกษตรเพื่อความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Agricultural Systems - Save the World to Save Life) . ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.  น.277-301.

บทคัดย่อ

         การสร้างเสถียรภาพระบบปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป้าหมายเพื่อให้ได้รูปแบบและระบบการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่เกษตรกร ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต กรณีศึกษาจากเกษตรกร 5 ราย ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี และสกลนคร เกษตรกรร่วมทดสอบจำแนกได้เป็น 2กลุ่ม คือ เกษตรกรต้น แบบ มี 2ราย นายสวิง คำจ่าง และนายประเด็ด ไวยเลิศ และเกษตรกรที่ต้องพัฒนา 3ราย กลุ่มเกษตรกรต้นแบบ มีแผนการผลิตพืชชัดเจน มีความมั่นคง และความสมดุลของกิจกรรม แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงน้อย มีความพึงพอใจในกิจกรรมของตน สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่ต้องพัฒนารูปแบบกิจกรรมยังมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เป็นเกษตรกรที่สนใจต้องการพัฒนาฟาร์มตนเอง ผลประเมินระดับความพอเพียงตามตัวชี้วัด 6 x 2 พบว่า เกษตรกรได้คะแนนระดับดี 3ราย ระดับปานกลาง 2 ราย กรณีศึกษาในเกษตรกรต้นแบบ เกษตรกรรับระบบการผลิตพืชหลังนา และเทคโนโลยีการแก้ปัญหาศัตรูพืช ส่วนเกษตรกรที่ต้องพัฒนา ยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืช เช่น เทคโนโลยีการผลิตลำไย มะเขือเทศ มะนาว ทดสอบพันธุ์พืช เช่น ข้าวโพดสุโขทัย 1ทดสอบระบบการปลูกพืช เช่น ระบบการผลิตถั่วลิสงหลังนา ทดสอบเพิ่มพืชใหม่เข้าไปในฟาร์ม เช่น ไผ่เลี้ยง ลิ้นจี่ ลำไย ผักหวานป่า มะนาว ฝรั่ง ชมพู่ มะกอกน้ำ การทดสอบเป็นการสนับสนุนกิจกรรมเสริมให้รูปแบบการผลิตมีความมั่นคง ให้เกษตรกรนำทางเลือกไปทดสอบเอง ให้สอดคล้องกับวิถีการยังชีพของครัวเรือน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ 2ระดับ คือ เกษตรกรต้นแบบปรับเปลี่ยนระบบการผลิตน้อย เพื่อสร้างเสถียรภาพในฟาร์ม เกษตรกรที่ต้องพัฒนา ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตมาก เพื่อทดสอบ และค้นหารูปแบบความเหมาะสมของกิจกรรมสร้างความสมดุลของฟาร์ม ก่อนพัฒนาไปสู่การผลิตที่มีเสถียรภาพ