รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การศึกษาเทคโนโลยีการผลิต คุณภาพทางเคมี และสารพิษตกค้างของมันแกวในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.54-76.

บทคัดย่อ

         การศึกษาระบบการผลิตมันแกวของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมันแกวของเกษตรกร และทราบมาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างที่อาจเกิดขึ้นในระบบการผลิตมันแกว จึงได้ทำการศึกษา และสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหาสารพิษตกค้างในผลผลิตของมันแกว จากผลการศึกษาพบว่าไม่พบสารพิษตกค้างใดๆที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เกษตรกรใช้ระบบการผลิตโดยการปลูกและใช้เทคโนโลยีตามประสบการณ์ที่เคยทำมา ขาดคำแนะนำทางวิชาการอย่างเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ปัจจัยที่มีผลกระทบและเปลี่ยนแปลงการผลิตมันแกวที่สำคัญหลายปัจจัย เช่นประสบการณ์ มีผลต่อพื้นที่ที่ใช้ปลูกระบบการปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการวิจัยและพัฒนา เช่น พันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต และปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม เช่น ดิน โรค และแมลง เป็นต้นทางด้านการผลิตและผลตอบแทนพบว่า เกษตรกรสามารถผลิตมันแกวได้ผลผลผลิตเฉลี่ย 3.6 ตันต่อไร่ โดยมีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 5,308 บาทต่อไร่ คิดเป็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนรวมต่อไร่ (Benefit CostRatio : BCR) เท่ากับ 2.07 ในกรณีที่จำหน่ายในลักษณะเหมาแปลง และเท่ากับ 8.13 ในกรณีที่นำผลผลิตไปตั้งนั่งร้านจำหน่ายเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้น และเป็นแนวทางในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีราคาสูงขึ้นมากกว่าการบริโภคสด ดังนั้นจึงได้การศึกษาคุณภาพแป้ง และองค์ประกอบทางเคมีในผลผลิตของมันแกวที่อายุเก็บเกี่ยวต่างกัน ทำการทดลองในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม ในเดือนเมษายน 2553 ถึงเดือนกันยายน 2553 พบว่าอายุเก็บเกี่ยวที่ต่างกันของมันแกวไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางลำต้นมากนัก แต่มีผลอย่างยิ่งต่อขนาด และปริมาณของผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุประมาณ 30 วันขึ้นไปหลังปลูก มันแกวจะเริ่มสะสมแป้งและน้ำตาล ในส่วนของปริมาณแป้ง และองค์ประกอบทางเคมีของมันแกวที่อายุเก็บเกี่ยวต่างกัน พบว่าอายุเก็บเกี่ยวที่ต่างกันไม่มีผลต่อปริมาณแป้งในหัวมันแกว แต่มีผลต่อองค์ปะกอบทางเคมี เช่น ปริมาณน้ำตาล ฟรุกแตน ปริมาณโปรตีน ไขมัน และต่อคุณภาพแป้ง คือความหนืดสูงสุด และค่า Set back ซึ่งจะมีผลต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการแปรรูปต่อไป