รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การสร้างตัวชี้วัดและดัชนีการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อความยั่งยืนอย่างผสมผสานหลายมิติ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.112-126.

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้ ได้สำรวจจุดอ่อนของการสร้างตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนในอดีต และได้ปรับปรุงตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุด ข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก กชช 2 ค และ จปฐ ของกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยโดยมีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิเพิ่มเติม ตัวชี้วัดที่คณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีทั้งหมด 18 ตัวชี้วัด รวมทั้งตัวชี้วัดการพัฒนาด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อมโดยอาศัยข้อมูลทางระบบภูมิสารสนเทศ และได้ทดสอบตัวชี้วัดเหล่านี้ในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวงรวม 4 แห่ง โดยมีการให้น้ำหนักตัวชี้วัดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการศึกษา พบว่าวิธีการนี้ สามารถระบุค่าตัวชี้วัดในแต่ละด้านและดัชนีการพัฒนาโดยรวม ทำให้สามารถทราบถึงประเด็นที่ยังต้องมีการพัฒนาในแต่ละด้านของแต่หมู่บ้าน/พื้นที่ ตัวชี้วัดและดัชนีการพัฒนาที่สร้างขึ้น เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน เช่น เกณฑ์ในหมู่บ้านคนไทย หรือเกณฑ์ในกลุ่มหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาที่ดี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนการคำนวณจากการอิงกลุ่มมาอิงเกณฑ์ สามารถนำไปใช้ในพื้นที่สูงอื่นๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น