รายละเอียดบทคัดย่อ


 . อิทธิพลของการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซท์แบบ A1B และ A2 จากแบบจำลองภูมิอากาศต่อผลผลิต ข้าว ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2542.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.236-243.

บทคัดย่อ

         ข้าวเป็นพืชอาหารหลักของประชาชนไทย พื้นที่การผลิตข้าวมากกว่าร้อยละ 75 ของประเทศอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และมีความอ่อนไหวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตข้าวจากแบบจำลอง CSM-CERES rice รุ่น 4.5 ที่จะได้รับข้อมูลกาลอากาศแบบจำลองภูมิอากาศ ECHAM4 ภายใต้การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์แบบ A2 และแบบจำลอง MRIและแบบจำลอง HadCM3 ภายใต้การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์แบบ A1B ของIPCC-SRES ในช่วงปีค.ศ. 1980-1999 ในพื้นที่ระดับภูมิภาคของประเทศไทยทั้ง 6 ระบบนิเวศน์ ผลการศึกษาพบว่า ผลผลิตข้าวเฉลี่ยตามระบบนิเวศน์ 6 ระบบ ได้แก่ กลาง ตะวันตก เหนือ ตะวันออก ใต้และตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ512, 468, 428, 343, 318, และ 281 กก/ไร่ ตามลำดับ แบบจำลองภูมิอากาศ ECHAM4 คำนวณผลผลิตข้าวได้เท่ากับ514, 498, 479, 373, 378, และ 387 กก/ไร่ ตามลำดับ แบบจำลองภูมิอากาศ HadCM3 คำนวณผลผลิตข้าวได้เท่ากับ529, 474, 437, 374, 440, และ 381 กก/ไร่ ตามลำดับ และแบบจำลองภูมิอากาศ MRIคำนวณผลผลิตข้าวได้เท่ากับ534, 421, 447, 405, 350, และ 342 กก/ไร่ ตามลำดับ แบบจำลองข้าว CSMCERESรุ่น 4.5 คาดการณ์ผลผลิตข้าวในช่วงปี ค.ศ.1980-1999 ใน 6 ระบบนิเวศน์ข้าวได้มากกว่าที่ปรากฏในรายงานโดยมี RMSEn เฉลี่ยอยู่ระหว่างร้อยละ 35-52 สรุปสามารถใช้แบบจำลองข้าวและข้อมูลกาลอากาศในอนาคตเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดต่อการผลิตข้าวได้บนพื้นฐานข้อมูลที่มีคุณภาพสูง