รายละเอียดบทคัดย่อ


 . อิทธิพลของวันปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวฟ่างหวานหลังนา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.244-251.

บทคัดย่อ

         ข้าวฟ่างหวานนับว่าเป็นพืชที่มีศักยภาพในการใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเอทานอล เนื่องจากน้ำคั้นในลำต้นมีความหวานใกล้เคียงกับอ้อย สามารถนำมาหมักเป็นเอทานอลได้โดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่มีศักยภาพสำหรับใช้ปลูกในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเนื่องจากมีอายุสั้นและใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาแต่ช่วงเวลาปลูกข้าวฟ่างหวานที่เหมาะสมหลังเก็บเกี่ยวข้าวยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย จึงได้ดำเนินการศึกษาช่วงเวลาปลูกที่ถูกต้องและเหมาะสม สำหรับการผลิตข้าวฟ่างหวานหลังนา ดำเนินการในฤดูแล้ง ตั้งแต่ตุลาคม 2550 ถึงเดือนกันยายน 2552 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่พิษณุโลกผลการทดลอง พบว่า ช่วงเวลาปลูกมีผลทำให้น้ำหนักลำต้นสดของข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Rio ให้ความแตกต่างกันทางสถิติโดยการปลูก 15 เม.ย. ให้น้ำหนักลำต้นสดสูงสุด 5,386 กก./ไร่รองลงมา คือ การปลูก 15 มี.ค. 15 ก.พ. 15 ม.ค. และ 15 ธ.ค. ให้น้ำหนักลำต้นสด 5,360, 5,146, 3,044 และ 2,392 กก./ไร่ตามลำดับ โดยการปลูก 15 พย. ให้น้ำหนักลำต้นสดต่ำสุด1,410 กก./ไร่สรุปได้ว่า การปลูกตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาปลูกข้าวฟ่างหวานในพื้นที่นาที่เหมาะสม ซึ่งทำให้มีน้ำหนักลำต้นสด ปริมาณน้ำคั้น ค่าความหวาน และความสูงของต้นสูงสุด ส่วนการปลูกในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ให้น้ำหนักลำต้นสด ปริมาณน้ำคั้นค่าความหวาน และความสูงของต้นค่อนข้างต่ำ