รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระบบเกษตรผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของการปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ ลาดชันของจังหวัดน่าน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.252-263.

บทคัดย่อ

         เกษตรกรบนพื้นที่ลาดชันภาคเหนือตอนบน ปลูกข้าวโพดเป็นเวลานาน เกิดปัญหาผลผลิตข้าวโพดลดลง การชะล้างพังทลายและเกิดความเสื่อมโทรม จึงได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืช ได้จำแนกกลุ่มระบบเกษตรที่มีอยู่เดิมได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มียางพาราเป็นพืชหลัก ระบบพืชไร่อื่น ๆ ในทีดอนและระบบการปลูกพืชในนาที่มีถัวเหลืองหรือพืชผักตามหลังข้าวนาปี และการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารและรายได้ในครัวเรือน ปัจจัยควรปรับปรุงระบบเกษตรผสมผสานได้แก่ด้านการตลาดและราคา ความรู้ ทุนและแหล่งน้ำเกษตรกรเลือกรูปแบบระบบเกษตรทีมียางพาราเป็นพืชหลักและมีข้าวเป็นพืชอาหารโดยร่วมกับพืชไร่และถั่วเหลืองหลังนา เป็นระบบมีรายได้ที่ยั่งยืนและระยะยาว แต่มีปัญหาผลผลิตต่ำ ขาดความรู้และทักษะการกรีดยางพารา การพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานให้เกษตรกรมีทักษะสูงขึ้นและมีความรู้ ทำให้เกษตรกรมีประสิทธิภาพในการกรีดยางพารา และยอมรับ ได้เพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราโดยปลูกทดแทนพื้นที่ข้าวโพดในพื้นที่ลาดชันและเพิ่มผู้ปลูกรายใหม่ เฉลี่ย 8 – 12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงเป็นแนวทางการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน ปลูกถั่วเหลืองหลังนาช่วยเพิ่มรายได้และมีความมั่นคง แต่เกษตรกรยังต้องการปรับปรุงการผลิตให้มั่นคง โดยการเพิ่มผลผลิตแล้วพึ่งตัวเองให้ได้ต่อไป