รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การคาดการณ์ผลผลิตอ้อยของพื้นที่โรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียวโดยใช้แบบจำลอง CSM-CANEGRO ปีการ ผลิต 2552/53 และ 2553/54.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.264-272.

บทคัดย่อ

         การคาดการณ์ปริมาณอ้อยเป็นกิจกรรมสำคัญของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อเตรียมการวางแผนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยเข้ากระบวนการหีบ และเชื่อมโยงกับแผนการผลิตน้ำตาลของโรงงานรวมทั้งการบริหารการขายในตลาดล่วงหน้าวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อทดสอบความแม่นยำของแบบจำลองในการคาดการณ์ปริมาณอ้อย การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การทดสอบความแม่นยำของแบบจำลองในแปลงตัวแทนปีเพาะปลูก 2552/53 พบว่าผลผลิตอ้อยที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องกับกับผลผลิตจริงทั้งในสภาพที่มีการให้น้ำเสริมและสภาพน้ำฝน โดยมีค่า r2เท่ากับ 0.42 และ 0.60 สำหรับอ้อยพันธุ์ K84-200และ K88-92 ตามลำดับภายใต้สภาพน้ำฝน และ 0.79 สำหรับพันธุ์ K88-92 ภายใต้สภาพน้ำฝน2) การใช้แบบจำลองในการคาดการณ์ปริมาณอ้อยของพื้นที่โรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว ในปีการผลิต 2552/53แบบจำลองได้ประเมินผลผลิตไว้ที่ 4,469,688 ในขณะที่ปริมาณอ้อยเข้าหีบจริงของโรงงานอยู่ที่ 3,399,365ตัน ผลผลิตที่ได้จากแบบจำลองสูงกว่า 32% และในปีการผลิต 2553/54 แบบจำลองประเมินผลผลิตได้5,148,766 ปริมาณอ้อยเข้าหีบจริงเท่ากับ 4,296,147 ตัน ผลผลิตที่ได้จากแบบจำลองสูงกว่า 20% ความแตกต่างของผลผลิตที่ได้จากแบบจำลองและปริมาณอ้อยเข้าจริงหีบ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความคลาดเคลื่อนของข้อมูลนำเข้าและความสามารถของแบบจำลองที่ยังไม่มีการตอบสนองต่อจำนวนประชากรของลำอ้อย รวมทั้งโรคและแมลง ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อไป