รายละเอียดบทคัดย่อ


 . กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.273-280.

บทคัดย่อ

         ปัญหาการผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญส่งผลทำให้ผลผลิตต่ำ เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรไม่สอดคล้องกับความต้องการของพืช การขาดความรู้ด้านการจัดการดิน ตลอดจนปัญหาการระบาดของโรค และแมลงศัตรู ได้แก่ เพลี้ยแป้ง และไรแดง เป็นต้น ส่งผลให้มันสำปะหลังแสดงออกของระดับผลผลิตในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสภาพแวดล้อม การดำเนินการแก้ไขปัญหาการผลิตมันสำปะหลังโดยใช้กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง ได้แก่ 1) แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตเฉพาะพื้นที่ 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ และ 3)แปลงต้นแบบการผลิต อีกทั้งการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินงานในแต่ละกระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานทั้งนี้กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังดังกล่าว สามารถนำรูปแบบ และกระบวนการดำเนินงานไปขยายผลเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังให้ครอบคลุมแหล่งปลูกมันสำปะหลังของจังหวัด ภายใต้ 1)โครงการนำร่องต้นแบบบูรณาการเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่ออาหาร พลังงานและอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอ เกษตรกรจำนวน 1,000 ราย 2) โครงการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ42,000 ไร่ เกษตรกรจำนวน 2,600 ราย และ 3) โครงการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ครอบคลุม 12 ตำบล ของอำเภอสีคิ้ว อีกทั้งมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านการอบรม และสื่อต่าง ๆ เป็นลำดับ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังอย่างยั่งยืนต่อไป