รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออก.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.281-294.

บทคัดย่อ

         ได้ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออก ปี 2551-2553 พื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด ได้แก่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และสระแก้ว โดยดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ปัญหาที่สำคัญที่พบ คือ การเข้าถึงแหล่งความรู้ การขาดแคลนแหล่งพันธุ์ดี ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ ในการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้แก่เกษตรกร ผลการดำเนินงาน การทดสอบพันธุ์มันสำปะหลังในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดจันทบุรี พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตหัวสดและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงสุด ทำให้มีรายได้สุทธิ 4,180 บาท/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) พบว่า แปลงทดสอบพันธุ์มีค่า BCR เท่ากับ 2.9 และแปลงเกษตรกรมีค่า BCR เท่ากับ 1.9 ส่วนการทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง ระหว่างวิธีแนะนำกับวิธีเกษตรกร พบว่า วิธีแนะนำให้ผลผลิตหัวสดสูงสุด 5,342 กิโลกรัม/ไร่ วิธีเกษตรกรให้ผลผลิตหัวสดสูงสุด 4,562 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งวิธีแนะนำให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร 17.0 เปอร์เซ็นต์ และวิธีแนะนำให้ผลตอบแทนเท่ากับ 10,766 บาท/ไร่ วิธีเกษตรกรให้ผลตอบแทน 7,656 บาท/ไร่ ทำให้วิธีแนะนำมีผลตอบแทนสูงกว่าวิธีเกษตรกร 40.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) พบว่า วิธีแนะนำมีค่า BCR เท่ากับ 2.7 วิธีเกษตรกรมีค่า BCR เท่ากับ 2.1 แสดงว่าทั้งวิธีแนะนำและวิธีเกษตรกร เมื่อทำการผลิตแล้วมีผลกำไร เกษตรกรให้การยอมรับเทคโนโลยีและนำไปปรับใช้กับพื้นที่ นอกจากนั้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังดำเนินการในพื้นที่นิคมสหกรณ์โป่งน้ำร้อนจังหวัดจันทบุรี เป้าหมายเชิงปริมาณ คือเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมร้อยละ 70 สามารถนำเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตไปปรับใช้อย่างถูกต้อง ยกระดับผลผลิตต่อไร่ จาก 4 ตัน/ไร่ เพิ่มเป็น 5 ตัน/ไร่ คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในนิคมสหกรณ์โป่งน้ำร้อน มีเกษตรกรเข้าร่วม ประมาณ 500 คน รวมพื้นที่ 15,000 ไร่เป้าหมายเชิงคุณภาพ คือ เกษตรกรรู้จักพันธุ์มันสำปะหลังและมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเพิ่มขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่ตามศักยภาพ โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมดำเนินการทดสอบพันธุ์มันสำปะหลัง การจัดทำแปลงสาธิตพันธุ์ และแปลงขยายพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเก็บต้นพันธุ์ไว้ใช้เอง เกษตรกรสามารถถ่ายทอดความรู้และกระจายพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆได้