รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การศึกษาชนิดและปริมาณของสารพิษตกค้างในพืชผักผลไม้ใน เขตภาคตะะวันออกเฉียงเหนือตอนบนหลังการรับรองระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP).  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.313-323.

บทคัดย่อ

         การตรวจติดตามสารพิษตกค้างในพืชผักผลไม้ที่ผ่านการรับรองระบบเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในปีงบประมาณ 25512552 และ 2554 ได้สุ่มเก็บตัวอย่างปีละ 200ตัวอย่าง พบว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตรวจพบมากที่สุดคือ ไซเปอร์เมทรินรองลงมาคือ คลอไพริฟอส,เดลตาเมทริน,เฟนวาเรอเรต,ไตรอะโซฟอส,ไดเมทโทเอท,แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน,โปรฟีโนฟอส, ไซฟลูทรินและไดอะซินอนตามลำดับ ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง0.01 ถึง 6.84 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมโดยปี 2551 พบสารพิษตกค้าง 78ตัวอย่าง คิดเป็น 39 เปอร์เซ็นต์ และพบปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่า MRL42 ตัวอย่าง คิดเป็น 21 เปอร์เซ็นต์ชนิดพืชที่พบปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่า MRL คือ พริก มะม่วง มะเขือเทศ กวางตุ้งและผักกาดขาว ปี2552 พบสารพิษตกค้าง 56 ตัวอย่าง คิดเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ และพบปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่า MRL ในกวางตุ้ง 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 0.5 เปอร์เซ็นต์สำหรับปี 2554 พบสารพิษตกค้าง 82 ตัวอย่าง คิดเป็น 41เปอร์เซ็นต์ และพบปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่า MRL ในพริก 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 0.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ผักผลไม้ของไทยมีคุณภาพดีและปลอดภัยมากขึ้นเกษตรกรควรตระหนักถึงอันตรายของสารกำจัดศัตรูพืชขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ควรทำงานเชิงรุกในการให้คำแนะนำการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง