รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่กรณี : การพัฒนาเทคนิคและเครื่องมืองานระบบเกษตรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งนักวิจัย กรมวิชาการเกษตร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.343-345.

บทคัดย่อ

         การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการวิจัยเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเกษตร มีหลักการเหตุผลที่ผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเริ่มมีความหลากหลายแต่ยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ ณ สถานการณ์ปัจจุบันได้ไม่มากนัก สาเหตุเนื่องจาก การขาดแคลนนักวิชาการด้านงานวิจัยและพัฒนาระบบเกษตร ขาดการบูรณาการเชื่อมโยงนักวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ในการลงไปดำเนินการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มโอกาสแก่เกษตรกร / ชุมชนในพื้นที่ตลอดจนการให้โอกาสแก่เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย ในกระบวนการการร่วมวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดความต้องการเทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงส่งผลกระทบให้ผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรมีผู้นำไปใช้ประโยชน์น้อยลง หลักสูตรการอบรมฯ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้นักวิจัยรุ่นใหม่ สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 ในการที่จะได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นกระบวนการที่นำผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์โดยกลุ่มเป้าหมายต่อไป การอบรมฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการวิจัยและพัฒนาเชิงระบบให้สอดคล้องกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมของเกษตรกรให้แก่นักวิจัยที่เกี่ยวข้องของ สวพ. 1-8 ให้เป็นไปในทางเดียวกันและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ปีงบประมาณ2550 ได้จัดการอบรมฯ หลักสูตรพื้นฐาน 1 ครั้ง ที่ สวพ. 2 (พิษณุโลก) ระหว่างวันที่ 11-14 กันยายน ผู้เข้ารับการอบรมฯจำนวน 48 คน และปีฯ 2551 การอบรมฯ จัดขึ้นจำนวน 4 ครั้ง จำแนกเป็นหลักสูตรพื้นฐาน จำนวน 2 ครั้ง ที่ สวพ 4 (จ.อุบลราชธานี) และ สวพ.6 (จ.จันทบุรี) ระหว่างวันที่ 17-21 มีนาคมและ 16-20 มิถุนายน ตามลำดับ หลักสูตรประยุกต์จำนวน 2 ครั้งที่ สวพ.1(จ.เชียงใหม่) และสวพ. 8 (จ. สงขลา)ระหว่างวันที่ 7-11 กรกฎาคม และ 18-22 สิงหาคม 2551 ตามลำดับ มีผู้เข้ารับการอบรมฯ ครั้งละ 70 คนเนื้อหาวิชา ของหลักสูตรเป็นการประยุกต์หลักการวิจัยและพัฒนาที่ได้เคยใช้เมื่อ10 ปี กับวิธีการ ณ ปัจจุบัน โดยหลักสูตรพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) นโยบายงานวิจัยและพัฒนาพืชเชิงพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร 2)กระบวนการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่และการนำไปใช้ประโยชน์ 3) งานวิจัย พัฒนาระบบเกษตร 4) การวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร 5) เทคนิคการค้นหา และตั้งโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่กับชุมชนโดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์กลุ่ม(Group Discussion) ประยุกต์กับ PRA การ์ดคำ (Card Technic) และ Matrix Board Analysis 6) การวิเคราะห์และจัดทำโครงการวิจัยแบบบูรณาการ 7) ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาในไร่นาเกษตรกร หลักสูตรประยุกต์ เป็นการต่อยอดจากหลักสูตรพื้นฐานประกอบด้วย 1) ระบบนิเวศเกษตร ณ ปัจจุบันที่สัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ของระบบพืชและเทคโนโลยีการผลิตพืช 2) กระบวนการวิจัย ทดสอบเชิงระบบของพืช และเทคโนโลยีการผลิต โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม 3) การวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้เสีย/กลุ่มเป้าหมาย ผู้ใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ระบบ Logistics การสร้างนวัตกรรมจากผลงานวิจัย 4) การวิเคราะห์ ต้นทุนผลตอบแทน การยอมรับผลงานวิจัย การติดตามประเมินผล 5) การจัดทำโครงการนำร่องเพื่อดำเนินงานต่อเนื่องจากการอบรม และการบริหารโครงการให้เกิดการใช้ประโยชน์วิธีการ ขั้นตอน การอบรมฯ ประกอบด้วย การบรรยาย การแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิด การฝึกปฏิบัติในพื้นที่เกษตรกรการค้นหาโจทย์วิจัยจากชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลระดับต่าง ๆ และการนำเสนอสำหรับวิทยากรได้รับความอนุเคราะห์จาก สำนักงานสนับสนุนกองทุนเพื่องานวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฯ สำนักที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตรผลการอบรมฯ บรรลุวัตถุประสงค์มากร้อยละ 58-70 ปานกลาง ร้อยละ 30-42 เนื้อหาวิชาการอบรมฯเหมาะสมกับหลักสูตรมากร้อยละ 62 – 87 ผู้เข้ารับการอบรมฯ เห็นว่าการอบรมฯ มีประโยชน์ แต่ละสวพ. จักได้นำความรู้ และทักษะไปปรับใช้ในการจัดทำโครงการวิจัย และสร้างเครือข่ายนักวิจัยของหน่วยงานต่อไปผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมมี ข้อเสนอแนะ เพื่อพิจารณา เป็นประเด็นสำคัญ ได้แก่ การนำผลการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์โดยบูรณาการเป็นรูปแบบของเครือข่าย (Cluster) กับหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการนี้กรมวิชาการเกษตร ได้จัดให้มีการอบรมฯต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเป็นการอบรมระหว่างงาน (On the JobTraining) ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1–8 โดยมีการอบรมฯ รวม 8 ครั้ง (เขตละ 1 ครั้ง) การอบรมฯ สมควรมีเทคนิคและเครื่องมือวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรที่ไม่ซับซ้อน รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักวิจัยที่มีทักษะและประสบการณ์วิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่น้อย ทั้งนี้มีเป้าหมายที่งานวิจัยสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการผลิตพืชชุมชน และนำไปสู่เป้าหมายของการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการวิจัยเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเกษตร ปี 2550–2551 ในบริบทของการฟื้นฟูและประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือทางระบบเกษตรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งนักวิจัย ของกรมวิชาการเกษตร ต่อไป