รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การคาดคะเนความงอกของเมล็ดพันธุ์งาขี้ม้อนภายใต้อุณหภูมิและระยะเวลาในการเก็บรักษาต่างๆ โดยใช้เทคนิคการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.437-438.

บทคัดย่อ

         เมล็ดงาขี้ม้อน (Perilla frutescens L. Britton) มีองค์ประกอบไขมันมากกว่า 51 % ของน้ำหนักแห้งของเมล็ดพันธุ์ ดังนั้น เมล็ดพันธุ์งาขี้ม้อนจะมีการเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็วเมื่อทำการเก็บรักษาในสภาพไม่เหมาะสม ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาในครั้งนี้เพื่อสร้างสมการการคาดคะเนอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์งาขี้ม้อน ในการเก็บรักษาในระยะเวลาต่างๆ โดยใช้เทคนิคการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบFactorial in CRD จำนวน 4 ซ้ำ โดย ปัจจัยที่หนึ่ง คือ อุณหภูมิในการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ คือ 40, 50, 60 และ70 องศาเซลเซียส และปัจจัยที่สอง คือ ระยะเวลาในการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ คือ 48, 60, 72, 84 และ 96ชั่วโมง พบว่า เมล็ดพันธุ์งาขี้ม้อนสูญเสียความงอกภายหลังการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ที่ 40 องศาเซลเซียสนาน 48ชั่วโมง ซึ่งพบว่าอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเร่งงอายุเมล็ดพันธุ์งาขี้ม้อน คือ 40 องศาเซลเซียสนาน 48 ชั่วโมง เมื่อใช้เทคนิคการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวมาสร้างสมการการคาดคะเนความงอกของเมล็ดพันธุ์ภายใต้ระยะเวลาการเก็บรักษาต่างๆ โดยวิธี stepwise linear regression ได้ดังนี้ Y1 = 0.634 –1.144X2 (R2 = 0.9745), Y2 = 0.012 + 1.08X2 + 1.46X8 – 48.86X5 – 131.05X6 + 1.56X7 (R2 =0.9999) และ Y3 = 0.38 + 14.18X8 + 6.51X4 - 0.983X5 - 3808.15X6(R2 = 0.9017) เมื่อ Y1, Y2และ Y3คือ ความงอกของเมล็ดพันธุ์งาขี้ม้อนภายหลังการเก็บรักษาที่ 3, 6 และ 12 เดือน ตามลำดับ และตัวแปรในสมการในการคาดคะเนคือ ค่าการนำไฟฟ้าของเมล็ดพันธุ์ (X1) ความงอกภายใต้สภาพแปลงปลูก (X2) ค่ากิจกรรมของน้ำภายในเมล็ดพันธุ์ (X3) ความยาวราก (X4) น้ำหนักแห้งของต้นกล้างาขี้ม้อน (X5) ค่าอัตราการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ (X6) ความยาวยอด (X7) และค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์งาขี้ม้อน (X8)ตามลำดับ