รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.465-474.

บทคัดย่อ

         การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในภาคกลางและภาคตะวันตก ฤดูฝนปี2551-2553 ได้ดำเนินการทดสอบในแปลงของเกษตรกรจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 5 แปลง แปลงละ 2 ไร่รวมทั้งสิ้นปีละ 10 ไร่ กรรมวิธีที่นำเข้าไปทดสอบมี 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบเป็นการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 1 ใน 3 ส่วน ปุ๋ยฟอสฟอรัสทั้งหมดและปุ๋ยโพแทสเซียมทั้งหมด ใส่รองก้นร่องตอนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยไนโตรเจนที่เหลือ 2 ใน 3 ส่วน ใส่เมื่อต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อายุ 25-30 วัน เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอเปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกร ซึ่งเป็นวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรที่ปฏิบัติอยู่ พบว่า จังหวัดอุทัยธานี กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิต 911 กิโลกรัม/ไร่มากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 18.0% ในขณะที่กรรมวิธีทดสอบมีต้นทุนผันแปรและรายได้สุทธิ 3,418 และ2,428 บาท/ไร่ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 17.9 และ 17.1% ตามลำดับ กรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 3.75 และ 3.76 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับสำหรับอัตราค่าตอบแทนต่อค่าใช้จ่ายพบว่า ทั้งกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกรมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่า เกษตรกรในพื้นที่สามารถนำเอาวิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรตามกรรมวิธีทดสอบและการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรที่ใช้ปฏิบัติอยู่ตามกรรมวิธีเกษตรกร ใช้ปฏิบัติในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรได้แต่ต้องระมัดระวังค่าใช้จ่ายในการลงทุนผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์